Page 16 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 16
ประวัติศาสตร์พม่าที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การสู้รบอย่างยาวนานระหว่างชนชาติที่เข้า
ครอบครองดินแดนดั้งเดิม คือ มอญซึ่งอพยพจากทางตะวันออกเข้ามายังภาคใต้ กับกลุ่มชาติพันธุ์พม่า
ซึ่งบ้างก็เรียกว่า ปยุ (Pyu) ที่อพยพมาจากจีนในศตวรรษ ที่ ๙ โดยการก่อตั้งอาณาจักรพุกาม และมีอิทธิพล
้
ในการควบคุมลุ่มนำาอิรวดี รวมถึงเส้นทางการค้าระหว่างจีน-อินเดีย
ความขัดแย้งระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำาลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เป็นสงครามภายในที่ยืดเยื้อ
กินเวลานาน นับถอยหลังไปถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ ตั้งแต่ยุคที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นต้นมา
ยุคล่าอาณานิคม อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามายึดครองพม่า โดยพม่าได้ทำาสงครามกับอังกฤษถึง
๓ ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๖๙ พม่าพ่ายแพ้ และเสียดินแดนริมทะเลตามสนธิสัญญายันดาโบ
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕ พม่าเสียมณฑลพะโค ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๒๘ พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ใน พ.ศ. ๒๔๒๙ อังกฤษได้ผนวกพม่าและดินแดนของชนกลุ่มน้อยต่างๆ เข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง
ของอินเดีย รัฐบาลอังกฤษเข้ามาปกครองพม่าโดยใช้นโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง” (divide and rule
policy) เพราะอังกฤษได้แบ่งแยกรัฐของกลุ่มน้อยออกจากรัฐของชาวพม่า และใช้ระบบการปกครองที่
ต่างกันออกเป็น ๒ ส่วน คือ “พม่าแท้” (Burma proper) กับ “เขตชายแดน” (Frontier Areas)
พม่าเริ่มทำาสงครามต่อต้านอังกฤษ จนแยกตัวออกจากอินเดียได้ ใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ต่อมาเกิด
สงครามโลก ครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า ในพ.ศ. ๒๔๘๕ และสนับสนุนให้พม่าต่อต้านอังกฤษโดยญี่ปุ่น
สัญญาว่าจะให้เอกราชกับพม่า กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๑ นายพลอองซานได้จัดตั้งขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราช
จากญี่ปุ่น และอังกฤษ จนทำาให้พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑ และ
จัดให้มีการเลือกตั้งในเดือนเมษายนปีเดียวกัน กลุ่มของนายพลอองซานได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและ
จัดตั้งรัฐบาล
ปมปัญหาความขัดแย้งระหว่างพม่ากับชนกลุ่มน้อยในพม่าเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สนธิสัญญาปางโหลง
ที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและผู้แทนของรัฐฉาน คะฉิ่น และฉิ่น โดยมีสาระสำาคัญว่า รัฐฉาน
คะฉิ่น และฉิ่น จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลชั่วคราวพม่าในการก่อตั้งสหภาพพม่า หลังจากนั้นจะได้รับสิทธิ
ในการปกครองตนเองเป็นการตอบแทน
แต่เหตุการณ์ลอบสังหารนายพลอองซาน พร้อมกับสมาชิกในคณะรัฐบาลอีก ๖ คน ในวันที่ ๑๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา นายพลเนวินยึดอำานาจเบ็ดเสร็จจากกลุ่มของนายพลอองซาน เมื่อวันที่
๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พร้อมทั้งยกเลิกสนธิสัญญาปางโหลง นับแต่บัดนั้นมา ความสัมพันธ์ระหว่าง
ไทใหญ่ในรัฐฉานกับพม่าได้ขาดจากกัน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อเสนอแนะเ