Page 127 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 127
(๕) กำาหนดหลักเกณฑ์การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาใน
ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๔๑ วรรคสี่
(๖) อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง และ
กำาหนดระเบียบเกี่ยวกับการแสดงฐานะการเงินของคนต่างด้าวดังกล่าวตามมาตรา ๔๓
วรรคสอง
(๗) อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว มีถิ่น
ที่อยู่ในราชอาณาจักร และอนุญาตและกำาหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้คนต่างด้าว
ซึ่งได้ยื่นคำาขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปพลางก่อน
ตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่งและวรรคสอง
(๘) สั่งระงับการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๔๗ วรรคสาม
(๙) อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเคยเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรมีถิ่นที่อยู่ใน
ราชอาณาจักรต่อไปตามมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง
(๑๐) พิจารณาการเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕๓
(๑๑) ให้คำาปรึกษา คำาแนะนำา และความเห็นแก่รัฐมนตรีในการวางระเบียบ เกี่ยวกับ
การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำาด่านหรือพนักงานอื่น เพื่อรักษาความ
มั่นคงของชาติ หรือในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๒) พิจารณาให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับคนเข้าเมืองตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
มอบหมาย
แนวทางแก้ไข
บัญญัติเพิ่มเติมหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมือง มาตรา ๗ โดยบัญญัติเป็น
มาตรา ๗ (๑๒) ใหม่ และเลื่อนมาตรา ๑๗ (๑๒) เดิม “พิจารณาให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับคนเข้า
เมืองตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย” เป็นมาตรา ๗ (๑๓)
มาตรา ๗ (๑๒) “มีอำานาจในการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัย ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๔”
เหตุผล
เนื่องจากในปัจจุบันสำานักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นหน่วยงานเดียวที่ทำา
หน้าที่พิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวมีความล่าช้า และไม่เปิดให้
มีการตรวจสอบโดยหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทำาให้ผู้ลี้ภัยต้องประสบความยากลำาบาก ตกเหยื่อของ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองของหน่วยงานภาครัฐได้ ด้วยเหตุนี้
ประเทศไทยจึงจำาเป็นต้องทำาหน้าที่พิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย เพื่อช่วยคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ
มนุษยชนของบุคคลเหล่านี้ ทำาให้การพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยมีความโปร่งใส เป็นธรรม และอยู่ใน
กรอบระยะเวลาที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒