Page 125 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 125

แพทย์ตรวจคนเข้าเมือง หมายความว่า แพทย์ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราช
                            บัญญัตินี้

                                เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือ

                            ในฐานะอื่นใด ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
                                เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย
                            และให้หมายความรวมถึง บริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ตาม

                            ประมวลกฎหมายอาญา

                                โรงแรม หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำาหรับคนเดินทาง
                            หรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
                                ผู้จัดการโรงแรม หมายความว่า บุคคลผู้ควบคุม หรือจัดการโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วย

                            โรงแรม

                                คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง
                                พนักงานเจ้าหน้าที่  หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตาม
                            พระราชบัญญัตินี้

                                อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมตำารวจ

                                รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้”

                            แนวทางการแก้ไข

                              บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา ๔ โดยระบุคำานิยามของผู้ลี้ภัย ดังนี้
                              “… ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลซึ่งเนื่องด้วยความหวาดกลัวอย่างสมเหตุสมผลต่อการถูกประหัต

                        ประหารด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ  การเป็นสมาชิกของกลุ่มทางสังคมซึ่งเฉพาะ
                        เจาะจงหรือความคิดเห็นทางการเมือง ต้องอยู่ภายนอกประเทศซึ่งตนมีสัญชาติและไม่สามารถหรือ

                        ไม่เต็มใจที่จะแสวงหาประโยชน์จากการคุ้มครองของประเทศนั้นอันเนื่องมาจากความหวาดกลัว
                        ดังกล่าว  หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติและต้องอยู่ภายนอกประเทศซึ่งเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่ง

                        สำาคัญก่อนหน้านี้  และเนื่องด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว บุคคลนั้นไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะเดินทาง
                        กลับประเทศอันเนื่องมาจากความหวาดกลัวดังกล่าว

                              ทั้งนี้ให้รวมถึง ผู้อยู่ในความอุปการะของบุคคลดังกล่าวข้างต้น”


                            เหตุผล

                              ประเทศไทยเป็นที่รองรับผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลานานนับ ๔๐ ปี  และแม้จะ

                        มิใช่รัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑  แต่ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือ
                        แก่ผู้ลี้ภัยตามหลักมนุษยธรรมเสมอมา  อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่มีกฎหมายกำาหนดนิยาม
                        ของคำาว่า “ผู้ลี้ภัย” ทำาให้มีผู้แอบอ้างว่าเป็นผู้ลี้ภัยเพื่อแสวงหาผลประโยชน์  นอกจากนี้ การไม่มี





                                                                                                          


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130