Page 123 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 123
(๑๓) การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้าหรือสถาบันการศึกษาใน
ราชอาณาจักร
(๑๔) การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ
(๑๕) การอื่นตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง”
แนวทางการแก้ไข
เสนอให้บัญญัติมาตรา ๓๔ (๑๕) ใหม่ “ให้การขอลี้ภัยเพื่อการตั้งรกรากในประเทศที่สาม”
เป็นเหตุหนึ่งที่สามารถขอเข้าในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ โดยเลื่อนมาตรา ๑๓ (๑๕) เดิม
เป็นมาตรา ๑๓ ข้อ (๑๖)
มาตรา ๓๕ “คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๓๔ อธิบดีหรือ
พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ ก็ได้
ระยะเวลาที่จะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรให้กำาหนด ดังนี้
(๑) ไม่เกินสามสิบวัน สำาหรับกรณีตามมาตรา ๓๔ (๔) (๘) และ (๙)
(๒) ไม่เกินเก้าสิบวัน สำาหรับกรณีตามมาตรา ๓๔ (๓)
(๓) ไม่เกินหนึ่งปี สำาหรับกรณีตามมาตรา ๓๔ (๕) (๑๐) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕)
(๔) ไม่เกินสองปี สำาหรับกรณีตามมาตรา ๓๔ (๖)
(๕) ตามกำาหนดระยะเวลาตามความจำาเป็น สำาหรับกรณีตามมาตรา ๓๔ (๑) และ (๒)
(๖) ตามกำาหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเห็นสมควรสำาหรับ
กรณีตามมาตรา ๓๔ (๗)
ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเหตุจำาเป็นจะต้องอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่กำาหนดใน (๑)
(๒) (๓) และ (๔) ให้อธิบดีเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี และเมื่อได้อนุญาตแล้ว
ให้รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายในเจ็ดวันนับแต่วันอนุญาต
การขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปแต่ละครั้งให้คนต่างด้าวยื่น
คำาขอตามแบบและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำาหนดในกฎกระทรวงในระหว่างรอฟังคำาสั่งให้คนต่างด้าวผู้นั้น
อยู่ในราชอาณาจักรไปพลางก่อนได้”
แนวทางการแก้ไข
บัญญัติเพิ่มเติม มาตรา ๓๕ (๓) ให้การขอลี้ภัยเพื่อการตั้งรกรากในประเทศที่สาม เป็น
เหตุหนึ่งที่อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้
เป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี และยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ตามมาตรา ๑๓ (๔)
มาตรา ๓๕ (๓) “คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๔
อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ภายใต้เงื่อนไข
ใดๆ ก็ได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒