Page 132 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 132
๓. นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ เสนอว่าควรเพิ่มเติมบทบัญญัติ มาตรา ๑๓ โดยกำาหนดให้
“ผู้ลี้ภัยที่เดินทางโดยตรงมาจากสถานที่ที่ชีวิตหรือเสรีภาพของเขาถูกคุกคาม” เป็น
บุคคลที่ได้รับยกเว้นซึ่งไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ความเห็นของคณะทำางาน
เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ เรื่องหนังสือเดินทางหรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง
เป็นจุดสำาคัญที่ทำาให้ผู้ลี้ภัยหลายคนตกอยู่ในสถานะของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะผู้ลี้ภัย
หลายคนเป็นผู้ถูกประหัตประหารโดยรัฐ จึงทำาให้ไม่อาจออกหนังสือเดินทางได้ จึงควรกำาหนด
ให้ผู้ลี้ภัยเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นมิต้องใช้หนังสือเดินทางซึ่งจะทำาให้แก้ไขปัญหาตรงจุดมากขึ้น
แต่ผู้ลี้ภัยนั้นจะต้องเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้เดินทางโดยตรงมาจากประเทศที่ถูกประหัตประหาร เช่น
กรณีของชาวโรฮิงญาที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่มีหนังสือเดินทาง และได้ถูกจับกุมและ
กักขัง และเป็นการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยถูกลงโทษฐานเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับ
กฎหมายระหว่างประเทศ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๙
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔ โดยที่ประชุมเห็นว่าควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การ
คุ้มครองตามกฎหมายให้มีมติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเข้ามาด้วย โดยเสนอกรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
ทั้งนี้ คณะทำางานเห็นควรว่า ในทางปฏิบัติพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
ยังมีปัญหาอีกหลายประการ เช่น เรื่องการดำาเนินงานของ “แพทย์” ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
ซึ่งมีปัญหาในทางปฏิบัติ บุคคลยังคงถูกปัญหาละเมิดสิทธิในสุขภาพ จนกระทั่งถึงแก่ความตาย
เรื่องหนังสือเดินทางหรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง เป็นจุดสำาคัญที่ทำาให้ผู้ลี้ภัย
หลายคนตกอยู่ในสถานะของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะผู้ลี้ภัยหลายคนเป็นผู้ถูกประหัตประหาร
โดยรัฐ จึงทำาให้ไม่อาจออกหนังสือเดินทางได้ จึงควรกำาหนดให้ผู้ลี้ภัยเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้น
มิต้องใช้หนังสือเดินทางซึ่งจะทำาให้แก้ไขปัญหาหนังสือเดินทาง แต่ผู้ลี้ภัยนั้นจะต้องเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้
เดินทางโดยตรงมาจากประเทศที่ถูกประหัตประหาร เช่น กรณีของชาวโรฮิงญาที่เดินทางเข้ามาใน
ประเทศไทยโดยไม่มีหนังสือเดินทางและได้ถูกจับกุมและกักขัง
นอกจากนี้ คณะทำางานเห็นว่า ควรกำาหนดกรอบเวลาในการอยู่ในประเทศไทยของ
ผู้ลี้ภัย เนื่องจากในปัจจุบัน การขอลี้ภัยและการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยของสำานักงานข้าหลวง
ใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติไม่มีกำาหนดระยะเวลาที่แน่นอน และโดยทั่วไปใช้เวลานานกว่า ๒ ปี
ขึ้นไป ในการแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง จึงควรระบุให้แน่ชัดว่า ผู้ลี้ภัยได้รับอนุญาตให้อยู่
ในประเทศไทยได้เป็นระยะเวลาเท่าใดเพื่อมิให้ประเทศไทยรับภาระเกินสมควร
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒