Page 122 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 122
แนวทางการแก้ไข
พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองของประเทศไทย ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติ ในมาตรา ๑๓
กรณีการยกเว้นบุคคลซึ่งไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ให้รวมถึง
“ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ซึ่งได้เดินทางโดยตรงมาจากสถานที่ที่ชีวิตหรือเสรีภาพของเขาถูกคุกคาม
ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย หมายถึง บุคคลซึ่งเนื่องด้วยความหวาดกลัวอย่างสมเหตุสมผลต่อการ
ถูกประหัตประหาร ด้วยเหตุผลทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ การเป็นสมาชิกของกลุ่มทางสังคม
ซึ่งเฉพาะเจาะจงหรือความคิดเห็นทางการเมือง ต้องอยู่ภายนอกประเทศซึ่งตนมีสัญชาติและ
ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะแสวงหาประโยชน์จากการคุ้มครองของประเทศนั้น อันเนื่องมาจาก
ความหวาดกลัวดังกล่าว หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติและต้องอยู่ภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่
อันเป็นแหล่งสำาคัญก่อนหน้านี้ และเนื่องด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว บุคคลนั้นไม่สามารถหรือไม่เต็มใจ
ที่จะเดินทางกลับประเทศอันเนื่องมาจากความหวาดกลัวดังกล่าว รวมทั้ง ผู้อยู่ในความอุปการะ
ของบุคคลดังกล่าว”
โดยบัญญัติเป็น มาตรา ๑๓ (๔)
๔. การเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
เสนอให้มีการแก้ไข ๒ มาตรา คือ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕
มาตรา ๓๔ “คนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้จะต้องเข้ามาเพื่อการดัง
ต่อไปนี้
(๑) การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตหรือกงสุล
(๒) การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
(๓) การท่องเที่ยว
(๔) การเล่นกีฬา
(๕) ธุรกิจ
(๖) การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง
(๗) การลงทุนหรือการอื่นที่เกี่ยวกับการลงทุนภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
การลงทุน
(๘) การเดินทางผ่านราชอาณาจักร
(๙) การเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือคนประจำาพาหนะที่เข้ามายัง ท่า สถานี หรือท้องที่ใน
ราชอาณาจักร
(๑๐) การศึกษาหรือดูงาน
(๑๑) การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
(๑๒) การเผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒