Page 121 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 121

(๗)  อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว มีถิ่น
                                     ที่อยู่ในราชอาณาจักร และอนุญาตและกำาหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้คนต่างด้าว

                                     ซึ่งได้ยื่นคำาขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปพลางก่อน

                                     ตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
                                (๘)  สั่งระงับการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๔๗ วรรคสาม
                                (๙)  อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเคยเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร มีถิ่นที่อยู่ใน

                                     ราชอาณาจักรต่อไป ตามมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง

                                (๑๐) พิจารณาการเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๕๓
                                (๑๑) ให้คำาปรึกษา คำาแนะนำา และความเห็นแก่รัฐมนตรีในการวางระเบียบเกี่ยวกับการ
                                     ปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำาด่านหรือพนักงานอื่น  เพื่อรักษาความมั่นคง

                                     ของชาติ หรือในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้

                                (๑๒) พิจารณาให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับคนเข้าเมืองตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
                                     มอบหมาย

                            แนวทางแก้ไข

                              บัญญัติเพิ่มเติมหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมือง มาตรา ๗ โดยบัญญัติเป็น
                        มาตรา ๗ (๑๒) ใหม่ และเลื่อนมาตรา ๑๗ (๑๒) เดิม “พิจารณาให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับคนเข้า

                        เมืองตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย” เป็นมาตรา ๗ (๑๓)
                              มาตรา ๗ (๑๒) “มีอำานาจในการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัย ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน

                        มาตรา ๑๓ (๔)”


                            ๓.    การเข้าและออกราชอาณาจักร
                                มาตรา ๑๓ “คนต่างด้าวดังต่อไปนี้  ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง หรือเอกสาร

                     ใช้แทนหนังสือเดินทาง
                                                                       ้
                                (๑)  ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำาพาหนะทางนำาหรือทางอากาศ ซึ่งเพียงแต่แวะเข้ามายัง
                                     ท่า สถานี หรือท้องที่ ในราชอาณาจักรแล้วกลับออกไป
                                          เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบุคคลดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกหนังสือ

                                     สำาคัญตามแบบที่กำาหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้ถือไว้ก็ได้
                                (๒)  คนสัญชาติของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยเดินทางข้ามพรมแดนไปมา

                                     ชั่วคราว โดยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศนั้น
                                (๓)  คนโดยสารรถไฟผ่านแดนซึ่งถือตั๋วโดยสารทอดเดียวตลอด เพียงแต่ผ่านอาณาเขต

                                     ประเทศไทยไปนอกราชอาณาจักรตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่ง
                                     ประเทศนั้นๆ และรวมตลอดถึงผู้ควบคุมพาหนะ และคนประจำาพาหนะแห่งรถไฟ

                                     เช่นว่านั้นด้วย”



                                                                                                          


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126