Page 120 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 120
การประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๕
คณะทำางานได้จัดการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๕ เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ในการประชุม
ครั้งนี้เป็นการประมวลข้อเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ จากคณะทำางานแต่ละท่าน
แลกเปลี่ยนปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เช่น การส่งผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญอันตรายในประเทศต้นทาง
การกักตัวโดยไม่มีกำาหนดเวลาสูงสุด และมีการสรุปประเด็นสำาคัญของการแก้ไข ได้แก่ ประเด็นการ
พิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัย การกำาหนดกรอบระยะเวลาที่แน่นอนสำาหรับการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยและ
การขอลี้ภัยในประเทศไทย
ในการประชุมครั้งนี้ นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ได้เสนอบทบัญญัติที่ควรได้รับการแก้ไข แนวทาง
การแก้ไข และเหตุผลในการแก้ไข เพื่อให้เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย ดังต่อไปนี้
๑. คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง
มาตรา ๖ “ให้มีคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวง
มหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศอธิบดีกรมตำารวจ อธิบดีกรมแรงงาน
อธิบดีกรมอัยการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ผู้อำานวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ และผู้บังคับการกองตรวจ
คนเข้าเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการ”
แนวทางแก้ไข
บัญญัติเพิ่มเติมมาตรา ๖ ให้มี “...ผู้แทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๑ คน”
๒. คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง
มาตรา ๗ “ให้คณะกรรมการมีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง
(๒) พิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง
(๓) อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง
(๔) กำาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนต่างด้าว ซึ่งขอเข้ามามีถิ่นที่อยู่ใน
ราชอาณาจักร เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติและเงื่อนไขอื่น ตามมาตรา ๔๑
วรรคสอง
(๕) กำาหนดหลักเกณฑ์การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาใน
ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา ๔๑ วรรคสี่
(๖) อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง
และกำาหนดระเบียบเกี่ยวกับการแสดงฐานะการเงินของคนต่างด้าวดังกล่าว ตาม
มาตรา ๔๓ วรรคสอง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒