Page 119 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 119
(๔) กรณีผู้สูงอายุได้คนละ ๗.๒ ล้านวอน และคนที่ขยันทำางานได้ ๒๔.๔ ล้านวอน เพื่อกระตุ้น
ให้คนขยันทำางาน
(๕) ในด้านการประกอบอาชีพ รัฐบาลเกาหลีใต้ให้เงินอุดหนุนบริษัทที่ยอมรับผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือ
ในอัตราส่วน ๕๐/๕๐ ในระยะเวลา ๓ ปี
(๖) การศึกษาสนับสนุนถึงระดับอุดมศึกษา
ที่ประชุมได้ปรึกษาหารือและเห็นว่า สำาหรับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยนั้นมีความแตกต่าง
จากกรณีของประเทศเกาหลีใต้และแคนาดา เนื่องจากประเทศไทยยินยอมให้ผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศเป็นการ
ชั่วคราวเท่านั้น และการดูแลผู้ลี้ภัยในปัจจุบันเป็นการปฏิบัติตามมติของอนุกรรมการสภาความมั่นคง
แห่งชาติ ซึ่งเป็นการใช้อำานาจบริหารมิใช่การใช้อำานาจนิติบัญญัติ จึงสมควรที่จะแก้ไขพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมืองในส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการพิจารณาสถานภาพ
ผู้ลี้ภัย ในหมวดที่ได้รับอนุญาตได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราว เพราะเมื่อพิจารณาปัญหาในปัจจุบันพบว่า
ผู้ลี้ภัยที่มีปัญหา ก็คือ กลุ่มที่เข้ามาโดยส่วนใหญ่ก็เข้ามาโดยถูกต้อง มี passport มี visa tourist แต่ว่า
เมื่อมาอยู่จนเกินกำาหนดวีซ่า ๓๐ ก็เลยกลายเป็น over stay จึงถูกจับ ถ้าหากมีการกำาหนดประเภทวีซ่า
อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ลี้ภัยจะสามารถจะมาขอเข้ากลุ่มนี้ได้ และสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว
โดยอาจเป็นระบบที่กำาหนดให้มารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ในอีกประเด็นหนึ่งที่มีปัญหาในปัจจุบัน คือ อำานาจในการพิจารณาผู้ลี้ภัย ซึ่งประเทศไทยให้
UNHCR ดูแลทั้งหมด ซึ่งใช้เวลานานและทำาให้ประเทศไทยไม่สามารถกำาหนดระยะเวลาที่แน่นอนที่ผู้ลี้ภัย
เหล่านี้จะอยู่ในประเทศไทย ที่จริงแล้ว การพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยมีอยู่ด้วยกัน ๓ แบบ คือ การ
พิจารณาที่ UNHCR ทำาเองทั้งหมด การพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยที่รัฐเข้ามาทำาเอง และค่อยให้ UNHCR
รับรอง ซึ่งหลายประเทศได้เข้ามาดำาเนินการเอง และแบบที่รัฐทำาร่วมกับ UNHCR โดยอาจจะเป็น
กระทรวงยุติธรรมหรือตรวจคนเข้าเมืองเข้าดำาเนินการ และหากประเทศไทยจะเป็นผู้ดำาเนินการเอง
หรือเข้ามามีส่วนร่วมในการดำาเนินงานของ UNHCR จะดีกว่า เนื่องจากปัจจุบันกระบวนการดังกล่าว
ใช้เวลานานและไม่มีกำาหนดเวลาที่แน่นอน
พ.ต.ท.ดร.พงษ์นคร นครสันติภาพ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ควรกำาหนดประเภทวีซ่าใหม่ให้กับ
ผู้ลี้ภัย เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ โดยสามารถออกเป็นกฎหมายกระทรวง
หลังจากปรึกษาหารือกัน ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการเสนอกำาหนดประเภทวีซ่าใหม่ให้แก่ผู้ลี้ภัย เพื่อให้
สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ถูกต้องตามกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำาคัญที่ให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย
และทำาให้ประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒