Page 117 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 117

การประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕


                            คณะทำางานได้จัดการประชุม ครั้งที่ ๒  เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  ณ ห้อง ๗๐๘
                     สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ในการประชุมดังกล่าวได้มีการชี้แจงวัตถุประสงค์

                     ของคณะทำางานแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้แก่ที่ประชุมอีกครั้ง  คณะทำางานนี้ได้
                     รับการจัดตั้งขึ้น เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเป็น

                     จำานวนมาก  และประเทศไทยมิได้มีกฎหมายภายในเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ทำาให้ผู้ลี้ภัยตกเป็นเหยื่อของการ
                     ละเมิดสิทธิมนุษยชน  เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าตรวจสอบห้องกักกันในสถานกักกัน

                     คนต่างด้าว ซึ่งพบว่าสภาพห้องกักนั้นไม่เหมาะสมกับการกักระยะยาว  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                     แห่งชาติจึงเห็นว่า ควรดำาเนินการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในเชิงยุทธศาสตร์  โดยการเตรียมความพร้อม

                     ประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิผู้ลี้ภัย ๑๙๕๑ เพื่อสร้างกรอบทางกฎหมายให้แก่
                     ประเทศไทยในการจัดการผู้ลี้ภัยที่ชัดเจน

                            นายพงศ์เทพ  พนากุลวิจิตร ได้เสนอให้นำาข้อเสนอแนะของคณะทำางานแก้ไขพระราชบัญญัติ
                     คนเข้าเมือง ในอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองให้แก่คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมาย

                     เกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ซึ่งมีศาสตราจารย์
                     สายสุรีย์ เป็นประธาน ให้ข้อเสนอแนะและความเห็น  ทั้งนี้ อาจจะเชิญคณะทำางานนี้ร่วมประชุมกับ

                     คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่า
                     ด้วยสิทธิเด็ก

                            นายพงศ์เทพ  พนากุลวิจิตร ได้ให้ความเห็นว่า ในการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองนี้
                     ต้องคำานึงถึงข้อจำากัดของผู้ที่ต้องบังคับใช้กฎหมายด้วย  ในเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือของหน่วยงาน อาทิ

                     สำานักงานตรวจคนเข้าเมืองตามชายแดนอาจจะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์กลางที่รวบรวมข้อมูล  ทั้งนี้
                     หน่วยงานของรัฐก็ต้องให้ความสำาคัญกับการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าเป็นฐานข้อมูลเดียวกันให้มากขึ้น

                            นางสาวเกศริน  เตียวสกุล ได้สอบถามที่ประชุมว่า  การปรับใช้หลักการห้ามแยกเด็กจากบิดา
                     มารดานี้  มีกรณียกเว้นหรือไม่  หากเป็นการบิดามารดาถูกกักกันในห้องกัก จะสามารถแยกเด็กมาอยู่ใน

                     สถานที่ที่เหมาะสมกับเขา  ให้เขาได้เรียนหนังสือ ได้หรือไม่  ซึ่งนายพงศ์เทพ  พนากุลวิจิตร ได้ให้ความเห็น
                     ว่า หลักการห้ามแยกจากเด็กนี้ มิได้หมายความว่า จะต้องกักตัวเด็กร่วมกับพ่อกับแม่นั้นด้วย เราสามารถ

                     แยกเด็กเพื่อให้อยู่ในสถานที่ที่ดีกว่า มีโอกาสรับการตรวจสุขภาพได้  แต่หลักการดังกล่าวเพียงห้ามมิให้
                     แยกเด็กจากบิดามารดาแล้วดำาเนินการส่งเด็กกลับประเทศ

















                                                                                                           


                                      ข้อเสนอแนะเ
                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒ชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122