Page 78 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 78
ั
ชนมีความสัมพันธ์ต่อกันลักษณะที่เท่าเทียมกัน ทุกคนมีเสรีภาพอย่างแท้จริงในการตัดสินปญหา
ของส่วนรวมร่วมกันและในการพัฒนาตนเอง ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism) นี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อ
แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษย์ชนในกลุ่มประเทศสังคมนิยมในเวลาต่อมาสิทธิมนุษยชนในเอกสาร
ทางประวัติศาสตร์
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง ระบบทุนนิยมและระบบอุตสาหกรรมได้ถือก าเนิดขึ้น และก่อให้เกิดชนชั้นกลางซึ่ง
เป็นนักอุตสาหกรรมแนวความคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติและกฎหมายธรรมชาติได้รับการถ่ายทอด
จากบรรดาปรัชญาเมธีไปสู่นักการเมืองและประชาชนทั่วไป พวกเขาเรียกร้องสิทธิทางการเมือง
จากผู้ปกครอง การเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นในรูปแบบทั้งโดยวิธีการใช้ความรุนแรงและโดยสันติ
วิธี เหตุการณ์ที่ส าคัญ ได้แก่ การปฏิบัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษ การประกาศอิสระภาพของ
สหรัฐอเมริกา และการปฏิวัติของฝรั่งเศส จากการเรียกร้องดังกล่าวท าให้สิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนได้รับการรับรองโดยกฎหมายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของพลเมือง
( The Declaration of Rights ) ค.ศ. 1689
ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ซึ่งครองราชย์ในช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 1685-1688 นับเป็น
ช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยข้อขัดแย้งทางการเมืองและการปกครอง ข้อขัดแย้งในประเด็นที่ส าคัญและมี
ผลต่อการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษ ได้แก่ กษัตริย์กับอ านาจตุลาการ นโยบายทางศาสนาและ
บทบาทของรัฐสภา ดังนี้
1. ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับอ านาจตุลาการ กษัตริย์ทรงเป็นแกนของอ านาจบริหาร
และการยุติธรรม มีอ านาจตั้งแต่ถอดถอนผู้พิพากษาได้ตามพระราชอัธยาศัย มีอิทธิพลเหนือผู้
พิพากษาในการตัดสินคดีความต่างๆ นอกจากนี้ โครงสร้างของศาลที่มีทั้งศาลธรรมดาและศาล
พิเศษ ได้แก่ ศาลร้องทุกข์สามัญ ( Court of Common Pleas ) ศาลพระคลัง ( Exchequer of
Pleas ) ศาลหลวง (Court of King Bench ) ศาลนาวี ( Court of Admiralty ) ตลอดจนศาลทาง
ศาสนาซึ่งแบ่งแยกออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ท าให้อ านาจตุลาการขาดความเป็นเอกภาพ
ประชาชนมักไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีที่ต้องเป็นคดีความกับรัฐ แนวคิดเรื่องความเป็นอิสระ
ของกระบวนการยุติธรรมได้รับการสนับสนุนและขยายวงกว้างออกไป
2. กษัตริย์กับนโยบายทางศาสนา ภายหลังจากการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ท าให้กษัตริย์มีฐานะเป็นประมุขของศาสนจักร ( Church of England ) ประเทศอังกฤษในขณะนั้น
มีผู้ที่เลื่อมใสในคริสต์ศาสนานิกายต่างๆ ได้แก่ นิกายแองกลิคัน ( Anglican ) นิกายโปรเเตส
แตนต์ ( Protestant ) นิกายโรมันคาทอลิก ( Roman Catholic ) นิกายเพรสบีเทเรียน
( Presbyterian ) โดยมีนิกายแองกลิคัน ( Anglican ) เป็นศาสนาประจ าชาติ กษัตริย์มีอ านาจ
- 34 -