Page 83 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 83

ของสหรัฐอเมริกา และปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมือง (The  Declaration  of  the

                  Rights of Man and Citizen) ของฝรั่งเศส ถือเป็นหลักฐานของวิวัฒนาการสิทธิมนุษยชนที่สิทธิ

                  ธรรมชาติของมนุษย์ได้รับการรับรองและคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงศตวรรษที่ 18


                         สิทธิมนุษยชนสมัยปัจจุบัน


                         ในศตวรรษที่ 19 กล่าวได้ว่าเป็นยุคแห่งความอุดมสมบูรณ์ ลัทธิทางการเมือง ได้แก่ ลัทธิ
                  ประชาธิปไตยและลัทธิสังคมนิยมได้ถือก าเนิดขึ้นแนวคิดในเรื่องสิทธิธรรมชาติได้รับการเพิ่มเติม

                  ว่าถือเป็นเรื่องของบุคคลในอันที่จะประสานเข้ากับเรื่องของส่วนรวมโดยอยู่บนพื้นฐานของ

                  ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น รัฐจึงมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น กล่าว คือ จะต้องจัดให้มีสวัสดิการ

                  สาธารณะต่างๆ ให้กับประชาชนอีกด้วย

                         ภายหลังที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1945 โดยมี

                  วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งประการหนึ่ง คือ “เพื่อท าการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะ
                       ั
                  แก้ปญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการ
                  เคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักฐานส าหรับทุกคนโดยปราศจากความแตกต่างใน

                  เรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ด้วยบทบัญญัติของสหประชาชาติดังกล่าว จึงได้มีความ

                  ร่วมมือในการจัดท าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal  Declaration  of  Human

                  Rights) ขึ้นและได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1948 ซึ่งได้ถือเป็นวันสิทธิมนุษยชนของ

                  สหประชาชาติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาปฏิญญาสากลมิใช่กฎหมาย จึงขาดสภาพบังคับในกรณีที่มี

                  การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น แต่โดยเนื้อหาของปฏิญญาสากลถือได้ว่าเป็นมาตรฐานของสิทธิ

                  มนุษยชนที่นานาประเทศได้น าหลักการของปฏิญญาสากลดังกล่าวไปเป็นต้นแบบในการจัดท า

                  ระบบกฎหมายของตนให้สอดคล้องกับมาตรฐานของนานาประเทศ


                         ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                         ในงานของภัทรวดี แกว่นเจริญ  (2554 :  46-47  ) ได้อธิบายถึง ปฏิญญา ว่าคือ การให้

                  ค ามั่นสัญญาหรือแสดงการยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง เมื่อพิจารณา

                  ความหมายของปฏิญญาจะเห็นได้ว่าปฏิญญามิใช่กฎหมายแต่เป็นเพียงค าประกาศเจตนารมณ์

                  ร่วมกันของบรรดารัฐสมาชิกเพื่อที่จะก าหนดมาตรฐานแห่งการอยู่ร่วมกันที่ควรจะเป็นของมวล

                  มนุษยชาติเท่านั้น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal  Declaration  of  Human

                  Rights หรือ UDHR) คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความส าคัญใน

                  การวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่ง


                                                          - 39 -
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88