Page 81 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 81
นั้นเสียได้และสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ เพื่อให้ด าเนินตามหลักการและมีอ านาจสร้างสรรค์ความ
ปลอดภัยและความผาสุกให้เกิดขึ้นได้”
จะเห็นได้ว่า ค าประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกานี้ ได้ถ่ายทอดปรัชญาของล๊อคในเรื่อง
สภาวะธรรมชาติและสัญญาประชาคมไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ในการจัดรูปแบบของรัฐบาลโดย
่
แบ่งเป็นฝายบริหารนิติบัญญัติ และตุลาการ ได้สะท้อนแนวความคิดของมองเตสกิเออ ในเรื่องการ
แบ่งแยกอ านาจอธิปไตยไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน
หลังจากประกาศอิสรภาพแล้ว มลรัฐต่างๆ ได้จัดท าและประกาศใช้รัฐธรรนูญของตนเอง
ต่อมาจึงได้ร่วมกันจัดท ารัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1789 โดยได้ท า
การแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา สิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนได้รับการรับรองและคุ้มครองมากขึ้น สรุปสาระส าคัญได้ ดังนี้
เสรีภาพในการก่อตั้งและในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การ
ชุมนุมโดยสงบตลอดจนการร้องทุกข์ต่อรัฐบาล สิทธิในการมีและถืออาวุธ สิทธิที่จะปราศจากการ
ถูกคุกคามโดยยกกองก าลังทหารการตรวจค้นเคหะสถาน การจับกุม การยึดทรัพย์สิน จะต้องมี
หมายค้น หมายจับ หรือหมายยึดแล้วแต่กรณี จ าเลยมีสิทธิที่จะไม่ให้การปรักปร าตนเอง สิทธิที่จะ
ไม่ต้องถูกพิจารณาพิพากษาซ ้าในความผิดเดียวกันการพิจารณาคดีจะต้องกระท าโดยเปิดเผย
และไม่ชักช้าผ่านคณะลูกขุน การสืบพยานจะต้องกระท าต่อหน้าจ าเลย จ าเลยมีสิทธิที่จะได้รับแจ้ง
ข้อกล่าวหา และมีสิทธิที่จะมีทนายแก้ต่างคดีในการประกันตัวผู้ต้องหา การก าหนดหลักประกัน
จะต้องไม่สูงจนเกินเหตุ และห้ามการลงโทษที่โหดร้ายทารุณ ห้ามมิให้มีทาส หรือการรับใช้โดยไม่
สมัครใจประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน โดยไม่ค านึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ
ศาสนา เพศ หรือสีผิว
ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมือง (The Declaration of Rights of Man and
ั
Citizen) ค.ศ. 1789 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชย์ ฝรั่งเศสมีปญหาภายในที่เรื้อรังมานาน
สืบเนื่องมาจากการที่กษัตริย์องค์ก่อนๆ ด าเนินนโยบายผิดพลาด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศ
่
ที่ก าลังตกต ่าแต่กษัตริย์และราชส านักใช้จ่ายเงินอย่างฟุมเฟือย สาเหตุส าคัญที่ท าให้เกิดการ
ปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้น สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. สภาพสังคม สภาพสังคมของฝรั่งเศสในขณะนั้น มีการแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจนโดย
แบ่งเป็นกษัตริย์ และขุนนางในราชส านัก พระ และราษฎรสามัญชน ขุนนางและพระเป็นกลุ่มที่มี
อภิสิทธิ์ราษฎรที่เป็นสามัญชนถูกกดขี่ สังคมมีความแตกแยก ประชาชนทั่วไปต่างไม่พอใจใน
สภาพที่เป็นอยู่
- 37 -