Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 73
2. ค าสอนเรื่องการจ ากัดอ านาจรัฐ
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองของรัฐในยุคนี้ ถือว่าพลเมืองเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ
เกิดมาเพื่อเป็นทาสรับใช้รัฐ “ชีวิตของพลเมืองสมัยนั้นผูกพันธ์กับนครโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็น
้
กิจกรรมใดๆ กิจกรรมงานใดๆ พลเมืองจะต้องยึดถือนครเป็นเปาหมาย ชีวิตส่วนตัวของพลเมือง
ต้องอยู่ภายใต้นคร แต่ละนครจะมีพระเจ้าและประเพณีเป็นของตนเอง พลเมืองจะต้องมีพันธะที่จะ
มีส่วนในการเคารพพระเจ้าและปฏิบัติตามประเพณีนั้น ชีวิตของพลเมืองเกี่ยวพันกับการปกครอง
นครโดยเฉพาะต้องให้บริการต่อนคร จะต้องรับใช้นคร นครอาจจะเรียกร้องสิ่งต่างๆ จากพลเมือง
ั
ได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน ชีวิต สติปญญาเวลาของบุคคล ในเวลาสงครามพลเมืองต้องมี
ภาระหน้าที่ต่อนครเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติวิสัยและเป็นธรรมชาติ”
ในสมัยนั้น รัฐมีอิทธิพลเหนือพลเมืองโดยสิ้นเชิง พลเมืองจะถูกก าหนดให้มีหน้าที่ผูกพัน
ต่อรัฐเป็นหน้าที่ที่มีความส าคัญเหนือกว่าหน้าที่ส่วนตัวหรือแม้แต่หน้าที่ต่อครอบครัว กล่าวคือ
พลเมืองจะต้องยอมศิโรราบต่ออ านาจรัฐในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้น ความตายของโสคราติส
เป็นสิ่งยืนยันถึงอ านาจดังกล่าวของรัฐได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ โสคราติสเลือกที่จะยอมรับโทษ
แม้ว่าจะมีโอกาสที่จะปฏิเสธได้ก็ตาม ในยุคดังกล่าวถือได้ว่ามนุษย์เป็นเพียงทาสของรัฐ มีหน้าที่
รับใช้รัฐ ต้องอุทิศทุกสิ่งแม้ชีวิตให้กับรัฐ มีชีวิตอยู่อย่างปราศจากคุณค่าหรือศักดิ์ศรีใดๆ
แนวความคิดในเรื่องการจ ากัดอ านาจรัฐนั้น ไม่ปรากฏแน่ชัดในค าสอนของคริสต์ศาสนา
ว่าได้มีการกล่าวถึงไว้โดยตรง แนวความคิดดังกล่าวถือเป็นการแปลความค าสอน โดยบรรดา
สานุศิษย์ของพระเยซูที่ส าคัญ ได้แก่ เซนต์ แอมโบรส ออกุสติน
3. เซนต์ แอมโบรส ( St. Ambrose ) คริสต์ศตวรรษที่ 4
เซนต์ แอมโบรส สานุศิษย์คนส าคัญผู้หนึ่งของพระเยซูได้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง
อ านาจรัฐไว้ว่า “มนุษย์และรัฐเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นด้วยอานุภาพของพระองค์
ั
ผู้ปกครองรัฐต้องได้รับการเชื่อฟง ศาสนจักรมีอ านาจที่จะพิพากษาคริสเตียนทุกคนรวมทั้งกษัตริย์
หรือผู้ปกครองด้วย เพราะคริสเตียนทุกคนต่างถือเป็นบุตรของพระเจ้าและอยู่ภายใต้ศาสนจักร
เดียวกัน รัฐควรมีอ านาจเฉพาะเรื่องการปกครองบ้านเมืองไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องศาสน
จักร”
ความเห็นของเซนต์ แอมโบรส ถือได้ว่า เป็นการแบ่งแยกอ านาจของอาณาจักรและศาสน
จักรออกจากกัน โดยถือว่าทั้งอาณาจักรและศาสนจักรต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกัน และจ ากัด
อ านาจของอาณาจักรหรือผู้ปกครองให้มีขอบเขตเพียงเฉพาะเรื่องของอาณาจักร ส่วนกิจการทาง
ศาสนาให้ถือเป็นเรื่องของศาสนจักรเท่านั้น
- 29 -