Page 75 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 75
สิทธิมนุษยชนสมัยใหม่
จากยุคกลางเข้าสู่ตอนต้นของยุคใหม่ เป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ
ด้าน การค้นพบทางวิทยาศาสตร์มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ ความเชื่อในเรื่องเหตุผลเข้ามา
แทนที่ศรัทธาการใช้เหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ท าให้อิทธิพลของศาสนาเสื่อมคลายลงมนุษย์มี
ั
ความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แนวความคิดเรื่องปจเจกชนนิยม (Individualism) ได้ก่อตัวและ
พัฒนาขึ้น ในศตวรรษที่ 17 ความเชื่อในเรื่องเหตุผลของมนุษย์มีมากกว่ากฎของพระเจ้า
้
กฎธรรมชาติเป็นเรื่องของเหตุผลในทางโลก มีไว้เพื่อปกปองผลประโยชน์ของบุคคล โธมัส ฮอบส์
และจอห์น ล๊อค ได้เสนอแนวความคิดเรื่องสภาวะตามธรรมชาติและสัญญาประชาคม ดังนี้
1. โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs) คริสต์ศักราชที่ 1588- 1679
โธมัส ฮอบส์ ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงสภาวะตามธรรมชาติของมนุษย์ไว้ใน
หนังสือชื่อ Leviathan ความว่า “ในสภาวะที่ยังไม่มีสังคม มนุษย์มีชีวิตอยู่ในธรรมชาติด้วยความ
หวาดกลัว เห็นแก่ตัวและชอบใช้ความรุนแรง เป็นสภาวะของอนาธิปไตย ด้วยความจ าเป็น
เพื่อที่จะหลีกหนีจากสภาวะที่เลวร้าย มนุษย์จึงได้รวมตัวกันขึ้นเป็นสังคมและท าความตกลงมอบ
สิทธิธรรมชาติทั้งหลายของตนให้กับรัฐเป็นผู้ควบคุมดูแล เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะที่เป็นอนาธิปไตย
ได้อีก”
ตามความคิดของฮอบส์ มนุษย์เป็นผู้ที่เห็นแก่ตัวและโหดร้ายสังคมมีแต่ความขัดแย้งมี
สภาวะที่เป็นอนาธิปไตย มนุษย์จ าเป็นต้องสละสิทธิธรรมชาติของตนที่มีอยู่ทั้งสิ้นให้กับรัฐ เพื่อที่
รัฐจะได้มีอ านาจอย่างเต็มที่ในการควบคุมสภาวะธรรมชาติ และเพื่อมนุษย์รอดพ้นจากสภาวะที่
เลวร้าย โดยต่างท าสัญญายอมสละสิทธิเสรีภาพของตนมอบให้กับรัฐและต้องเคารพรัฐผู้รับมอบ
อ านาจไปจากตน ข้อตกลงดังกล่าวนี้เรียกว่า สัญญาประชาคม (Leviathan) ซึ่งจะก่อให้เกิดรัฐที่มี
อ านาจอย่างสมบูรณ์และเด็ดขาด (Absolute Power)
2. จอห์น ล๊อค (John Locke) คริสต์ศักราชที่ 1632-174
จอห์น ล๊อค ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษ ได้เสนอความคิดเรื่องสภาวะธรรมชาติและสัญญา
ประชาคม ไว้ในหนังสือชื่อ The Second Treaties of Government ความว่า “มนุษย์ในสภาวะ
ธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะแห่งสันติสุข ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเสมอภาคและเป็นอิสระ มี
สิทธิที่ส าคัญ 3 ประการ คือ สิทธิในชีวิต อิสรภาพและทรัพย์สิน ภายใต้การควบคุมของกฎแห่ง
ธรรมชาติ การล่วงละเมิดสิทธิที่มนุษย์มีอยู่ตามธรรมชาติจะถูกลงโทษด้วยการแก้แค้น ทดแทน
- 31 -