Page 76 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 76

จากผู้เสียหาย”  การลงโทษในสภาวะธรรมชาตินี้มีลักษณะเป็น “ความยุติธรรมส่วนตัว (Private

                  Justice)”

                         ตามความคิดของล๊อค สภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้น มนุษย์เป็นผู้ที่มีจิตใจงดงามมีความ

                  เท่าเทียมกันและมีเสรีภาพอย่างเต็มที่แต่สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ขาดระเบียบทางการเมือง ขาด
                  องค์กรที่ท าหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ล่วงละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของผู้อื่น มนุษย์จ าต้องสละสิทธิใน

                  การบังคับใช้กฎธรรมชาติด้วยตนเอง และยินยอมอยู่ภายใต้อ านาจรัฐได้รับมอบหมายให้ท าหน้าที่

                    ้
                  ปองกันชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน แต่มนุษย์ได้สละสิทธิทั้งหมดให้กับสังคมให้
                  เฉพาะสิทธิเสรีภาพบางส่วนเพื่อความผาสุกร่วมกันแต่ยังคงรักษาสิทธิธรรมชาติอื่นเอาไว้ รัฐจึงมี

                  อ านาจอย่างจ ากัดตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นหากใช้อ านาจเกินขอบเขตหรือเป็นการล่วงละเมิด

                  สิทธิของประชาชน ประชาชนย่อมมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะล้มล้าง และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ได้

                                                          ั
                         ในศตวรรษที่ 18 แนวความคิดเรื่องปจเจกชนนิยม ( Individualism ) ได้แพร่หลายออกไป
                                                   ั
                  จุดเด่นของความคิดในยุคนี้อยู่ที่ว่าปจเจกบุคคล คือ เจ้าของสิทธิธรรมชาติ เป็นผู้ก าหนดวิถีทาง

                  ของตนเอง ผลประโยชน์ส่วนบุคคลมีความส าคัญกว่าประโยชน์ของสาธารณะ บุคคลที่จะเรียกร้อง
                  สิทธิต่ออ านาจรัฐหรือต่อต้านอ านาจรัฐได้ มนุษย์ถือว่าเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายใน

                  ความหมายสองประการ คือ ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องเพศ ชาติก าเนิด  สีผิว ตลอดจนศาสนา

                  และเสมอภาคในโอกาสที่จะแข่งขันในการประกอบอาชีพการงาน ฌอง ฌาค รุสโซ  และมองเตสกิ

                  เออ ปราชญ์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการแพร่หลายของแนวความคิดในเรื่องดังกล่าว



                         3. ฌอง ฌาค รุสโซ ( Jean Jacques Rousseau ) คริสต์ศักราชที่ 1712-1778

                             ฌอง ฌาค รุสโซ ปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส ได้เสนอความคิดเรื่องสภาวะธรรมชาติและ
                  สัญญาประชาคมไว้ในหนังสือชื่อ The Social Contract โดยกล่าวว่า “สภาวะธรรมชาติของมนุษย์

                  เป็นสภาวะที่มีความสุขอย่างล้นเหลือ มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นคนดี แต่เนื่องจากสิ่งแวดล้อม

                  ที่ไม่ดี ซึ่งได้แก่ ความแตกต่างในทรัพย์สิน สถานะทางสังคมและการศึกษา ท าให้มนุษย์กลายเป็น

                  คนไม่ดี มนุษย์จึงมีเสรีภาพในการคัดเลือกรัฐบาลที่ดีและมีสิทธิล้มล้างได้หากเป็นรัฐบาลที่ท าให้

                  ประชาชนขาดความสุข ซึ่งถือเป็นสิทธิที่เขามีอยู่เดิมตามธรรมชาติ”

                         ตามความคิดของรุสโซ โดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดีและมีความสุข มีความต้องการสิ่ง

                  ต่างๆ น้อยมาก ต่อมาเมื่อเกิดมีการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขึ้นจึงเป็นที่มาของความไม่

                  เสมอภาคของมนุษย์และสังคมที่ไม่เป็นธรรม มนุษย์จึงต้องหารูปแบบการปกครองใหม่ที่เกิดจาก

                  การยินยอมพร้อมใจของมนุษย์เองมิใช่การใช้ก าลังบังคับความยินยอมนี้เองที่ก่อให้เกิดสัญญา
                  ประชาคมขึ้นโดยถือเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม มนุษย์จึงมีสิทธิโดยธรรมชาติในการ



                                                          - 32 -
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81