Page 72 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 72
้
และเจ้าศักดินา มีหน้าที่ปกปองพระและผู้ใช้แรงงานและชนชั้นต ่าสุดคือผู้ใช้แรงงาน มีหน้าที่ผลิต
อาหารให้กับรัฐ
ค าสอนในคริสต์ศาสนา
่
การปกครองในยุคกลางมีลักษณะกระจัดกระจายกันมาก ต่างฝายต่างรบพุ่งกันเองเกิด
ความสงบเรียบร้อยและการไม่เคารพกฎหมายประชาชนต่างอยู่ด้วยความหวาดกลัวและเบื่อ
หน่าย ท่ามกลางความวุ่นวายและความไม่แน่นอนในช่วงที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกก าลังจะล่ม
สลาย ชาวโรมันประสบกับสภาวะความสับสน ขาดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจสถานะของผู้คนในสังคมมี
ความแตกต่างกันอย่างมาก ทาสและคนยากจนถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ ผู้คนหมดหวังในชีวิต
คริสต์ศาสนาได้ถือก าเนิดขึ้นในยุคนี้ โดยมีค าสอนที่เน้นในเรื่องความรักความเสมอภาคของ
มนุษย์และการจ ากัดอ านาจของรัฐ ดังนี้
1. ค าสอนเรื่องความเสมอภาค
ในยุคกลางนี้ เป็นยุคที่ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป มนุษย์
่
ถูกแบ่งออกเป็นชาวโรมันผู้ที่มีอารยธรรมกับผู้อื่นที่มิใช่ชาวโรมันซึ่งถือเป็นพวกปาเถื่อน ชาวยิวผู้
ซึ่งได้รับเลือกจากพระเจ้ากับผู้อื่นที่พระเจ้ามิได้ทรงเลือกซึ่งถือเป็นพวกที่ต ่ากว่า และการแบ่งแยก
เป็นชนชั้นเสรีชนกับทาส ศาสนาคริสต์มีค าสอนว่า มนุษย์ทั้งหลายที่ถือก าเนิดมานั้น ต่างถือว่า
เป็นบุตรของพระเจ้าด้วยกันทุกคนจึงมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสายตาของพระเจ้า
นอกจากนี้เซนต์ พอล ( St. Paul ) สานุศิษย์คนส าคัญคนหนึ่งได้กล่าวเสริมค าสอนของพระเยซู
ความตอนหนึ่งว่า “ไม่มีทั้งยิวหรือกรีก ไม่มีทั้งเสรีชนหรือทาส ไม่มีทั้งชายหรือหญิง เพราะเจ้า
ทั้งหลายถือเป็นหนึ่งในพระเยซูคริสต์”
ค าสอนของศาสนาคริสต์ในข้อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคกัน กล่าวคือ ต่างถือว่า
เป็นบุตรของพระบิดาองค์เดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ควรมีการแบ่งแยกเป็นชาวยิวหรือชาวโรมัน ไม่มี
ชนชั้นเสรีชนหรือทาส มนุษย์ทุกคนเป็นผู้ที่เท่าเทียมกันในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า ค าสอน
ดังกล่าว อ้างสิทธิธรรมชาติซึ่งได้รับมาจากพระผู้เป็นเจ้าเพื่อต่อสู้กับอ านาจรัฐและความอยุติธรรม
ของสังคม ถือเป็นรากฐานของแนวความคิดในเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ในเวลา
ต่อมา
- 28 -