Page 71 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 71

ไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงเอเธนส์และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่กรุงโรม แต่จะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับทุก

                  ชาติและทุกยุคสมัย”

                         ค ากล่าวของซิเซโร เป็นการยืนยันถึงหลักการของแนวความคิดในเรื่องกฎหมาย

                  ธรรมชาติ โดยที่พระเจ้าเป็นผู้สร้างกฎอันเป็นสากลขึ้นมาเพื่อปกครองโลก ถือเป็นหลักธรรมนูญ
                  ของโลก กฎหมายดังกล่าวมีความถูกต้องและสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งมีเหตุผลและมี

                  ธรรมชาติที่จะอยู่ร่วมกันเป็นสังคม กฎนี้จะเป็นอย่างเดียวกันส าหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ใช้ได้

                  กับทุกคนและทุกสถานที่ กฎใดก็ตามที่มนุษย์สร้างขึ้นให้ขัดแย้งกับกฎนี้จะต้องถูกยกเลิกไม่อาจ

                  ใช้ได้อีกต่อไป

                         เนื่องจากกฎหมายต่างๆ ที่ชาวโรมันใช้อยู่ยังมิได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนแน่นอน จึง

                  ได้มีการเรียกร้องให้มีการจัดท ากฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น และได้ประกาศใช้ในปี 45

                  ก่อนคริสต์ศักราช มีชื่อว่า กฎหมาย 12 โต๊ะ (Law  of  the  Twelve  Tables) โดยศึกษาจาก

                  แบบอย่างของกฎหมายโซลอนของกรีกและอิทธิพลจากปรัชญาส านักสโตอิค ( Stoics ) หลักการ

                  ของกฎหมายดังกล่าววางอยู่บนพื้นฐานของกฎธรรมชาติ (Natural Laws) โดยถือว่าเป็นกฎหมาย
                  คือ สิ่งที่พระเจ้ามอบให้กับมนุษย์ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกคนทุกรัฐโดยเสมอภาค

                         หลักการในกฎหมายสิบสองโต๊ะ ให้การยอมรับในเรื่องสิทธิต่างๆ ของพลเมืองโรมัน ชาว

                  โรมันทุกคนถือว่าเสมอภาคกันตามกฎหมาย เน้นความเท่าเทียมกันของชายและหญิงตลอดจน

                  ส่งเสริมสิทธิของสตรีและเด็ก อย่างไรก็ตาม ทาสยังมิได้รับการยอมรับให้มีสิทธิเท่าเทียมกับชาว

                  โรมัน แต่ยังคงได้รับการคุ้มครองในลักษณะของทาส กล่าว คือ มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในกรณีที่

                  ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม การทรมานผู้ต้องหาเพื่อให้รับสภาพเป็นสิ่งต้องห้ามผู้ต้องหา

                  ทุกคนถือเป็นผู้บริสุทธ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าได้กระท าผิดจริง เป็นที่ยอมรับกันต่อมาว่า
                  กฎหมายฉบับดังกล่าว ถือเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนของชาวโรมัน



                         สิทธิมนุษยชนสมัยกลาง

                         สมัยกลาง ได้แก่ ช่วงระยะเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5 ถึงศตวรรษที่  15 เป็นช่วงเวลาที่

                  ศาสนามีอิทธิพลครอบง าความคิดและวิถีชีวิตของมนุษย์หรือเรียกได้ว่า เป็นยุคแห่งศรัทธา เป็น

                  ยุคที่ศาสนจักรมีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิต ทัศนคติ และความนึกคิดของคนตั้งแต่เกิดจนตาย

                  แนวความคิดเรื่องกฎธรรมชาติตกอยู่ภายใต้จิตส านึกในทางศาสนา และถูกตีความไปตาม

                  ประเพณีของวิชาเทววิทยาในด้านโครงสร้างทางสังคมนั้นมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่

                                                 ั
                  พระ มีหน้าที่ทางศาสนา ทางภูมิปญญา และการกุศล นักรบและนักการเมือง ซึ่งได้แก่ ขุนนาง




                                                          - 27 -
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76