Page 70 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 70

้
                  ด้าวและทาสไม่มีสิทธิฟองร้องคดีด้วยตนเอง จะท าได้เพียงการร้องขอให้พลเมืองเอเธนส์ซึ่งเป็นผู้
                                ้
                  อุปถัมภ์เป็นผู้ฟองร้องคดีแทนให้เท่านั้น
                         ในขณะที่นครรัฐกรีกมีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามากขึ้นได้มีความเคลื่อนไหวเรียกร้อง

                  ให้มีการปฏิรูปสังคม ยิ่งในขณะนั้นประมาณปี 638-559 ก่อนคริสต์ศักราช ผู้ปกครองนครรัฐ
                  เอเธนส์ คือ โซลอน (Solon) ได้ออกกฎหมายพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์หลายประการของชน

                  ชั้นผู้ยากไร้ และให้สิทธิในทางการเมืองเพิ่มขึ้นในการควบคุมและจ ากัดอ านาจของชนชั้นปกครอง

                  จะเห็นได้ว่าสิทธิของราษฎรผู้ยากไร้ได้รับการรับรองและคุ้มครองมากขึ้น แต่ยังมีข้อจ ากัดเมื่อ

                  เทียบกับสิทธิต่างๆ ของพลเมืองกรีกที่เป็นเสรีชน

                         ในเวลาที่ใกล้เคียงกับอารยธรรมของกรีก ได้เกิดอารยธรรมโรมันขึ้นบนคาบสมุทรอิตาลี

                  แนวความคิดในเรื่องสิทธิธรรมชาติและความเสมอภาคของชาวโรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจาก

                  แบบอย่างของชาวกรีกได้ขยายขอบเขตของสิทธิต่างๆ ออกไปทั้งในทางความคิดและในทาง

                  ปฏิบัติ ในราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล  นักปราชญ์กลุ่มสโตอิค (Stoics) เป็นพวกแรกที่เข้า

                  เกี่ยวข้องกับทฤษฎีกฎธรรมชาติโดยได้รับแนวความคิดมาจากเพลโตและอริสโตเติล พวกเขาเชื่อ
                  ว่าทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทุกคนต่างอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติเดียวกัน ดังนี้  “ธรรมชาติเป็นระบบ

                  ของกฎเกณฑ์ที่เป็นสากล กฎหมายธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่เหนือพระเจ้าและมนุษย์ โลกอยู่ภายใต้

                  การปกครองของรัฐบาลศักดิ์สิทธิ์ คือ พระเจ้าซึ่งมีเหตุผล และมนุษย์ก็เป็นผู้ที่มีเหตุผล

                  เช่นเดียวกับพระเจ้า” โดยนัยนี้ พวกสโตอิคได้เสนอแนวความคิดในเรื่องพลเมืองสากลและความ

                  เสมอภาคตามธรรมชาติ กล่าวคือ สังคมมนุษย์ เป็นสังคมที่สืบเนื่องมาจากธรรมชาติ ทุกคนอยู่

                  ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันคือ กฎของโลกอันมีที่มาจากประเพณีอย่างหนึ่งกับที่มาจากเหตุและผล

                  อีกอย่างหนึ่ง กฎของเหตุและผลมีความส าคัญว่ากฎของจารีตประเพณี มนุษย์จึงถูกควบคุมให้อยู่
                  ภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติเดียวกันและอย่างเท่าเทียมกัน



                         3. ซิเซโร (Cicero) 16-43 ปีก่อนคริสต์ศักราช

                             ซิเซโร นักการเมืองและนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงของโรมันได้บรรยายถึงกฎหมาย

                  ธรรมชาติตามแนวความคิดของส านักสโตอิคไว้ ดังนี้ “มีกฎหมายที่แท้จริงอยู่ประเภทหนึ่ง คือ

                  เหตุผลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับธรรมชาติ แผ่ซ่านไปในสรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง มีผลใช้ได้ถาวร

                  ตลอดกาลไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นกฎหมายที่บังคับให้มนุษย์ต้องปฏิบัติหน้าที่ ห้ามกระท า

                  ความชั่ว และคอยเหนี่ยวรั้งให้พ้นจากความชั่วสุจริตชนย่อมไม่เพิกเฉยต่อบทบัญญัติและข้อห้าม

                  ของกฎหมายนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อกฎหมายนี้จะกระท ามิได้ ไม่ว่าจะกระท าโดยสภาซี
                                                                                ั
                  เนตหรือโดยประชาชน ก็มิอาจได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเคารพเชื่อฟงกฎหมายนี้ กฎหมายนี้จะ


                                                          - 26 -
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75