Page 69 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 69

ของความชอบธรรมไว้ในหนังสือจริยศาสตร์ ( Ethnics ) ความว่า “การให้อ านาจแก่กฎหมายนั้น

                  ถือเสมือนเป็นการให้อ านาจแก่พระผู้เป็นเจ้าหรือแก่เหตุผล แต่การให้อ านาจแก่บุคคลเป็นการให้

                  อ านาจแก่สัตว์เดรัจฉาน เพราะความอยากของคนนั้นมีลักษณะเป็นเดรัจฉานแม้คนที่ดีที่สุดที่อยู่

                  ในอ านาจก็มักเสียคนเพราะกิเลสตัณหา” อริสโตเติลไม่เห็นด้วยกับการจัดระเบียบมนุษย์ของเพล
                  โตโดยการแบ่งแยกชนชั้น เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะมีความหวงแหนในอิสรภาพ หากถูก

                  แบ่งแยกก็จะเกิดการต่อต้านต่อผู้ปกครองได้ เขาเชื่อว่าสังคมที่ดีจะเกิดจากความรู้สึกที่เป็นมิตร

                  บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน อริสโตเติลปฏิเสธการแสวงหาผู้ปกครองที่มีคุณธรรมในอุดมคติ

                  ตามความคิดของเพลโต เขาสนับสนุนการปกครองในแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมและโดยกฎหมาย

                  (The  Rule  of  Law) เขาเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นผู้ที่มีกิเลส หากได้ผู้ปกครองที่ไม่ดี

                  นอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแล้วการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยังท าได้ยาก แต่หากปกครองโดย

                  กฎหมายการไม่ได้รับความเป็นธรรมอาจมีได้ในบางกรณี แต่โดยตัวของกฎหมายนั้นเองมีทางแก้

                  อยู่แล้ว โดยการน าหลักความยุติธรรม (Equity) มาปรับใช้ ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์

                  ที่ว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผล เพราะการปกครองโดยกฎหมายนั้นถือได้ว่าเป็นการปกครองด้วย
                  เหตุผลนั่นเอง

                         ในค าสอนของอริสโตเติล ยังได้กล่าวถึงความเสมอภาคของมนุษย์อันได้แก่ ความเสมอ

                  ภาคตามธรรมชาติ (Natural  Justice) กับความเสมอภาคที่สมมติขึ้น (Conventional    Justice)

                  ความเสมอภาคตามธรรมชาติ หมายถึง ความเสมอภาคที่เกิดขึ้นและด ารงอยู่ในธรรมชาติ ไม่

                  ขึ้นกับกาลเวลา การรับรู้ หรือการยอมรับของมนุษย์ ส่วนความเสมอภาคที่สมมติขึ้นนั้น หมายถึง

                  ความเสมอภาคที่มนุษย์สร้างขึ้นจากมาตรการของกฎหมาย เป็นที่รับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไปใน

                  ช่วงเวลานั้น ความเสมอภาคในทรรศนะของอริสโตเติลนั้นมิได้หมายถึง ความเท่าเทียมกันในทุก
                  กรณี ราษฎรทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันในแง่ของความเป็นมนุษย์ แต่มิได้หมายความว่าจะท า

                  หน้าที่เดียวกันได้ทุกคนโดยเสมอภาค ทั้งนี้ เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันใน

                                       ั
                  ความสามารถและสติปญญา ในนครรัฐเอเธนส์ พลเมืองทุกคนมีสิทธิพูดและลงคะแนนเสียงเห็น
                                                                                                   ั
                  ด้วยหรือคัดค้านด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านผู้แทน ชาวกรีกชื่นชอบกับการโต้เถียงกันในปญหา
                  ต่างๆ โดยปราศจากอคติ ทุกคนต่างเคารพสิทธิของผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น

                         เป็นที่น่าสังเกตว่า ความเสมอภาคที่กล่าวถึงนั้นจ ากัดอยู่แต่เฉพาะพลเมืองกรีกที่เป็นเสรี

                  ชนซึ่งเป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น แม้แต่สตรีและเด็กที่เป็นเสรีชนเองก็ยังถูกกีดกันไม่ให้มีความ

                  เสมอภาคใดๆ ในส่วนของคนต่างด้าวและทาสนั้นไม่มีสิทธิเช่นว่านี้เลย อริสโตเติลกล่าวถึงพวก

                  ทาสว่า เป็นเสมือนเครื่องจักร ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์กลไกในการท างานให้กับรัฐ คนต่าง





                                                          - 25 -
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74