Page 68 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 68
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชลยชาวกรีกจะท างานเป็นผู้รับใช้ กรรมกรหรือช่างฝีมือถือว่าเป็นงานชั้นต ่าและ
น่ารังเกียจ พวกทาสเหล่านี้ต้องท างานอย่างหนักโดยไม่มีสิทธิมีเสียงใดๆ ในสังคม เฉพาะ
พลเมืองของนครรัฐ คือ ชาวเอเธนส์เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ ความไม่เสมอภาคเหล่านี้ปรากฏอยู่
ทั่วไป เพลโตและอริสโตเติลได้เสนอแนวความคิดเรื่องการจัดระเบียบของสังคมและความเสมอ
ภาคของมนุษย์ขึ้น ดังนี้
1. เพลโต ( Plato ) 428-347 ปีก่อนคริสต์ศักราช
เพลโต ปรัชญาเมธีชาวกรีก ได้วิเคราะห์การเมืองการปกครองนครรัฐโดยได้กล่าวถึง
รัฐในอุดมคติไว้ในข้อเขียนเรื่อง สาธารณรัฐหรืออุตมรัฐ (The Republic ) เขาได้อธิบายถึงสังคม
ในอุดมคติที่สมบูรณ์แบบว่า ประกอบไปด้วยคน 3 ชนชั้น ได้แก่
1) นักปราชญ์ เป็นผู้ที่ใช้เหตุผล ท าหน้าที่เป็นผู้ปกครองรัฐตามความต้องการของ
ประชาชน
้
2) นักรบ เป็นผู้ที่ใช้ยุทธศาสตร์ ท าหน้าที่ดูแลปกปองรัฐในยามศึกสงครามรวมทั้ง
ขยายขอบเขตของรัฐ
3) ประชาชน เป็นผู้ที่ใช้แรงงาน ท าหน้าที่ผลิตอาหารและสร้างผลผลิตที่จ าเป็นต่อ
พลเมืองของรัฐ
จุดมุ่งหมายของเพลโต คือ การค้นหารูปแบบหรือโครงสร้างทางการปกครองเพื่อให้ได้
ความรู้ที่แท้จริง ถือเป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ในสมัยนั้น ในด้าน
จริยธรรมเพลโตเห็นว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี แต่ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะดี
ได้อย่างสมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของมนุษย์คนนั้นว่ามีความใกล้เคียงกับรูปแบบแห่งความดี
มากน้อยเพียงใด เพลโตเห็นว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่แตกต่างและไม่เท่าเทียมกันโดยถูกสร้างมาให้
ท าหน้าที่ของแต่ละชนชั้น ดังนั้น สังคมจึงมีหน้าที่ในการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งมี
จ านวนน้อยที่สุดมาให้การศึกษาอบรมเพื่อท าหน้าที่เป็นผู้ปกครอง เพลโตได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่น า
ความคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติมาสู่วิชาตรรกวิทยา ข้อเขียนของเพลโตดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความ
พยายามในการจัดระเบียบของสังคมมนุษย์ขึ้นเป็นครั้งแรก
2. อริสโตเติล ( Aristotle ) 384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช
อริสโตเติล ปรัชญาเมธีชาวกรีกสานุศิษย์และผู้สืบทอดแนวความคิดของเพลโต ได้
ศึกษาค้นคว้ารัฐธรรมนูญของรัฐต่างๆ และได้สร้างทฤษฎีในทางการเมืองการปกครองที่สมบูรณ์
ที่สุดในยุคนั้น อริสโตเติลได้ให้ความส าคัญกับจริยศาสตร์เช่นเดียวกับเพลโต เขาได้กล่าวถึงหลัก
- 24 -