Page 67 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 67
2. สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จ าเป็น หรือมาตรฐานขั้นต ่าที่มนุษย์พึงมีโดยเสมอ
ภาคกัน เพื่อการด ารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า
3. สิทธิมนุษยชนย่อมไม่ถูกแบ่งแยกและไม่ค านึงถึงความแตกต่างในเรื่องชาติ เชื้อชาติ สี
ผิว เพศ วัย ภาษา ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่อในทางอื่นใด พื้นเพทางสังคม
สุขภาพทางร่างกาย ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะ รวมทั้งไม่ถูกจ ากัดด้วยกาลเวลาและสถานที่
4. สิทธิมนุษยชนย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (สากล)
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ (2553 : 25-27) กล่าวว่า สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ได้ปรากฏ
และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเป็นต้นมา เป็นที่
ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สิทธิธรรมชาติ (Natural Rights) ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกฎหมาย
ั
ธรรมชาติ (Natural Law) เป็นบ่อเกิดหรือที่มาของสิทธิมนุษยชนในปจจุบัน หากสืบย้อนไปใน
ประวัติศาสตร์จะพบว่าแนวความคิดเรื่องสิทธิธรรมชาติ ได้ก่อตัวขึ้นนับตั้งแต่ในสมัยกรีกและ
โรมันเป็นต้นมา บรรดานักปราชญ์ในแต่ละยุคสมัยต่างมองสิทธิธรรมชาติไปในแนวทางที่แตกต่าง
กัน สิทธิธรรมชาติได้ถูกตีความและถูกน าไปใช้ไปตามความเชื่อและปรัชญาของยุคสมัยนั้นๆ ซึ่ง
ั
ได้มีการพัฒนาการเป็นล าดับจนมาเป็นสิทธิมนุษยชนในปจจุบัน
วิวัฒนาการของสิทธิมนุษยชนนับตั้งแต่สมัยคลาสสิคซึ่งปรากฏให้เห็นในอารยธรรมของ
กรีกและโรมันที่มองธรรมชาติเป็นแบบปรนัย (Objective) พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การ
ควบคุมของกฎธรรมชาติ อิทธิพลของศาสนาในสมัยกลางที่ท าให้กฎธรรมชาติถูกตีความไปใน
แนวทางของเทววิทยา มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อ านาจกฎหมายของรัฐและกฎของพระเจ้า และสิทธิ
ั
มนุษยชนสมัยใหม่ซึ่งยอมรับในเรื่องเหตุผลของมนุษย์ แนวความคิดเรื่องปจเจกชนนิยม ลัทธิ
ประชาธิปไตยและลัทธิสังคมนิยม โดยล าดับ ดังนี้
สิทธิมนุษยชนสมัยคลาสสิค
สมัยคลาสสิค ได้แก่ ช่วงเวลาในสมัยของอารยธรรมกรีกและโรมัน เป็นช่วงเวลาที่วิถีชีวิต
ของมนุษย์ถูกครอบง าโดยอ านาจรัฐ ปราศจากความเป็นตัวของตัวเองมีการแบ่งแยกชนชั้น กดขี่
ข่มเหง และเอารัดเอาเปรียบกันของคนในสังคม สังคมในสมัยกรีกมีการแบ่งแยกชนชั้นของคนใน
สังคมอย่างชัดเจน ประชาชนในสมัยนั้นแบ่งออกเป็นพลเมืองเอเธนส์ ซึ่งได้แก่ผู้ที่มีบิดามารดา
เป็นชาวเอเธนส์ และทาสซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชลยจากสงคราม เฉพาะชาวเอเธนส์เท่านั้นจึงจะมีสิทธิ
ออกเสียงในทางการเมืองทาสและผู้หญิงจะไม่มีสิทธิออกเสียงหรือท างานในหน่วยงานของรัฐ ทาส
- 23 -