Page 66 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 66

1. สิทธิทางแพ่งและทางการเมือง (Political and CiviL Rights) เป็นสิทธิทางธรรมชาติที่

                  มีมาแต่ดั้งเดิม และปรากฏอยู่ในบทบัญญัติข้อ 1-21 สิทธิดังกล่าวประกอบไปด้วย สิทธิและ

                  เสรีภาพในการที่จะได้รับการเคลื่อนไหว สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สิทธิในการที่จะได้รับ

                  การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิใน
                  การแสดงออกอย่างเสรี สิทธิในการลี้ภัยและสิทธิของผู้ถูกกระท าทารุณกรรมต่างๆ

                         2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Economic  Social  and  Cultural  Rights)

                  เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ปรากฏ

                  อยู่ในบทบัญญัติข้อ 22 เป็นต้นไป ได้แก่ สิทธิในการศึกษา สิทธิในการก่อตั้งสหภาพแรงงาน สิทธิ

                  ในมาตรฐานการครองชีพที่ดีและอย่างพอเพียงตลอดจนสิทธิในการหยุดพักผ่อนจากการท างาน

                  เป็นต้น

                         จากค าจ ากัดความข้างต้น สิทธิมนุษยชนจึงหมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมี เป็นสิ่งจ าเป็น

                  ในการด ารงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า หากมีล่วงละเมิดต่อสิทธิดังกล่าวย่อมจะ

                  ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิต ร่างกาย  และความมั่นคงปลอดภัย
                  สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน  สิทธิในฐานะที่เกิดมาเป็นคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ที่ไหนในโลก ไม่

                  ว่าจะมีเชื้อชาติอะไร ศาสนาใด เพศ อายุ อาชีพหรือมีความแตกต่างกันในด้านสุขภาพ ความ

                  คิดเห็นทางการเมืองหรือความเชื่อทางศาสนาหรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคมเป็นองค์รวมไม่

                  สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่า สิทธิใดมาก่อนหรือส าคัญว่าสิทธิด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นสิทธิพลเมือง

                  สิทธิทางการเมืองหรือสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมหรือวัฒนธรรม เป็นสิทธิที่ติดตัวคนทุกคนมาแต่

                  เกิดและก้าวพ้นพรมแดนของประเทศเป็นสิทธิที่ต้องเขียนรับรองไว้โดยกฎหมาย ทั้งกฎหมาย

                  ภายในประเทศและกฎหมายหรือแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ เพื่อให้สิทธิมนุษยชนได้รับการ
                  ปฏิบัติจริงเป็นมาตรฐานที่พึงมีพึงได้ของมนุษย์ทุกคน

                         นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนยังหมายถึง สิทธิที่พึงมีเพื่อการพัฒนาบุคคลิกภาพ คุณภาพชีวิต

                  เพื่อธ ารงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการ

                  เลือกที่จะประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตลอดจนสิทธิในการมีส่วนร่วมในทาง

                  การเมือง ตลอดจนสิทธิในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สิทธิมนุษยชนประกอบไป

                  ด้วยสิทธิต่างๆ ครอบคลุมวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย  โดยอาจแยกย่อเป็นข้อๆ

                  ดังนี้

                         1.  สิทธิมนุษยชน  คือ  บรรดาสิทธิและเสรีภาพตามธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาแต่

                  ก าเนิดโดยไม่อาจถูกตัดรอนหรือพรากไปได้





                                                          - 22 -
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71