Page 65 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 65
6. สิทธิในสวัสดิการสังคม (Social or Welfare Rights) ซึ่งเรียกร้องให้มีการจัดการศึกษา
้
ส าหรับเด็ก และคุ้มครองปองกันความยากจนและความอดอยาก
ส าหรับสิทธิของกลุ่ม (Group Rights) นั้น มิได้มีการรับรองในปฏิญญาฯ แต่มีการรับรอง
ไว้ในสนธิสัญญาต่างๆ เช่น การคุ้มครองชนกลุ่มน้อยจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และความเป็น
เจ้าของเขตแดนและทรัพยากรของรัฐ
นอกจากนี้แล้ว ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศของสหประชาชาติก็มิได้ให้ค าจ ากัดความ
ของค าว่า สิทธิมนุษยชนไว้โดยตรง แต่ใช้วิธีระบุลักษณะของสิทธิที่จะให้การรับรองและคุ้มครอง
ดังที่นักวิชาการหลายท่านมีความเห็นว่า ความหมายที่แท้จริงและขอบเขตของสิทธิมนุษยชนยังมี
ข้อโต้แย้ง ไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน มีผลท าให้มีการตีความออกเป็นหลายทางขึ้นอยู่กับบริบทของการ
ั
กล่าว อ้าง และวิธีคิดของผู้ตีความว่าเป็นนักปรัชญา นักกฎหมาย นักสังคมวิทยา ฯลฯ ปญหาว่า
สิทธิมนุษยชนคืออะไร จึงยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นผลจาก
กระบวนการเรียกร้องของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่อ้างความชอบธรรมของประโยชน์นั้นๆ ว่า
เป็นสิ่งจ าเป็นต่อความเป็นมนุษย์โดยมีฐานทางกฎหมายในการเรียกร้อง ค าว่าสิทธิมนุษยชนใน
ั
ยุคปจจุบันจึงมีความหมายที่ขยายขอบเขตกว้างออกไปถึงสิทธิอันจ าเป็นที่มนุษย์พึงมีเพื่อให้
มนุษย์ได้มีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ท าให้เกิดการเรียกร้องสิทธิใหม่ๆ โดยกล่าวอ้างว่าสิทธินั้นอยู่ใน
ล าดับของสิทธิมนุษยชน
ขณะที่ อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ (2553 : 22-23) ได้กล่าวถึง สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
ว่าหมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนภายหลังที่ได้มีการก่อตั้ง
องค์การสหประชาชาติแล้ว ค าว่า สิทธิมนุษยชน จึงจะได้ถูกน ามาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับ
ภูมิภาคและในระดับนานาประเทศ ในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่ง
เช่น ในอารัมภบทได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของสหประชาชาติไว้ว่า
“เพื่อเป็นการยืนยันและให้การรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย ในศักดิ์ศรี
และคุณค่าของมนุษย์”
ในกฎบัตรสหประชาชาติได้แต่เพียงกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้ในที่ต่างๆ เช่น ในมาตรา 1
มาตรา 13 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 62 มาตรา 63 และมาตรา 76 เท่านั้น แต่มิได้ให้ค า
นิยามหรือค าก าจัดความของค าว่าสิทธิมนุษยชนไว้แต่อย่างใด ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งถือเป็นแม่บทของ
ั
สิทธิมนุษยชนในปจจุบัน ได้แต่เพียงจ าแนกสิทธิมนุษยชนออกเป็นประเภทต่างๆ ไว้เท่านั้น มิได้
มีค าอธิบายหรือบทนิยามของค าว่าสิทธิมนุษยชนไว้แต่อย่างใด เช่นเดียวกันสิทธิมนุษยชนตามที่
ปฏิญญาสากล ได้แจกแจงไว้ มีดังนี้
- 21 -