Page 64 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 64
1. ความอิสระเสรี และมีศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน
2. การปฏิบัติต่อกันอย่างฉันท์พี่น้อง
3. การมีสิทธิและเสรีภาพ ตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาฯ โดยไม่มีการจ าแนกความแตกต่างใน
เรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือ
สังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะอื่นใด
4. การจ าแนกข้อแตกต่างของแต่ละบุคคลโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมือง
ทางการศาล หรือทางการระหว่างประเทศของประเทศหรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะกระท ามิได้
จากแนวความคิดพื้นฐานดังกล่าวอาจจ าแนกสิทธิมนุษยชนออกเป็นประเภทต่างๆ โดย แบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and Political Rights) ได้แก่ สิทธิตาม
ธรรมชาติที่มีมาแต่ดั้งเดิม คือ สิทธิในการด ารงชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สิน ความเสมอภาค ความ
ยุติธรรม การแสวงหาความสุข
2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Economic Social and Cultural Rights)
เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิที่จะจัดตั้งสหพันธ์กรรมกร สิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอ
ส าหรับสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของตนและครอบครัว สิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง
รวมทั้ง การจ ากัดเวลาท างานตามสมควร เป็นต้น
หากพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของสิทธิต่างๆ ที่รัฐจะต้องเคารพและให้การคุ้มครองอาจ
แบ่งสิทธิตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนออกเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. สิทธิในความปลอดภัย (Security Rights) ซึ่งคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมเช่น
การฆาตกรรม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การทรมาน การข่มขืน เป็นต้น
2. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (Due Process Rights) คุ้มครองประชาชนจากการ
บิดเบือนระบบกฎหมาย เช่น การจ าคุกโดยไม่มีการด าเนินคดี การด าเนินคดีโดยลับการลงโทษ
เกินความจ าเป็น เป็นต้น
3. สิทธิในเสรีภาพ (Liberty Rights) คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในเรื่องความเชื่อการ
แสดงความคิดเห็น การสมาคม การชุมนุม และการเคลื่อนไหวต่างๆ
4. สิทธิทางการเมือง (Political Rights) คุ้มครองเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยการกระท าต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสาร การรวมกลุ่ม การประท้วง การเลือกตั้ง และการเข้า
เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
5. สิทธิในความเสมอภาค (Equality Rights) ซึ่งเป็นหลักประกันความเสมอภาคในความ
เป็นพลเมือง ความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย และการไม่เลือกปฏิบัติ
- 20 -