Page 63 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 63

ั
                         ยังมีปจจัยอื่นอีกที่จ าเป็นส าหรับการมีชีวิตของคน ได้แก่ การศึกษา การมีงานท า การที่
                  แม่ที่ต้องท้องและลูกในท้องต้องได้รับการดูแลให้มีความปลอดภัยและได้รับอาหารตลอดจนการ

                  ดูแลอย่างเหมาะสม การไม่ถูกจับกุมโดยพลการ มีทนายความเมื่อถูกจับ ไม่ถูกท าร้าย ทรมาน

                  หรือถูกฆ่า ไม่ถูกขายหรือเอาไปเป็นทาสทุกชนิด ฯลฯ เราเรียกสิ่งจ าเป็นส าหรับคนทุกคนที่ต้อง
                  ได้รับในฐานะที่เป็นคน ซึ่งท าให้คนๆ นั้นมีชีวิตอยู่รอดได้ว่าคือ “สิทธิมนุษยชน”

                         สิทธิมนุษยชน มี 2 ระดับ ระดับแรก เป็นสิทธิที่ติดตัวคนทุกคนมาแต่เกิดไม่สามารถถ่าย

                  โอนให้แก่กันได้ อยู่เหนือกฎหมายและอ านาจใดๆ ของรัฐทุกรัฐ สิทธิเหล่านี้ได้แก่ สิทธิในชีวิต

                  ห้ามฆ่าหรือท าร้ายต่อชีวิต ห้ามค้ามนุษย์ ห้ามทรมานอย่างโหดร้าย คนทุกคนมีสิทธิในความเชื่อ

                  มโนธรรมหรือลัทธิทางศาสนา ทางการเมือง มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก

                  หรือการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น สิทธิมนุษยชนเหล่านี้ไม่ต้องมีกฎหมายมารองรับ สิทธิเหล่านี้ก็

                  ด ารงอยู่ อย่างน้อยอยู่ในมโนธรรมส านึกถึงบาปบุญคุณโทษที่อยู่ในตัวของแต่ละคน เช่น แม้ไม่มี

                  กฎหมายบัญญัติว่าการฆ่าคนเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่คนทุกคนมีส านึกรู้เองว่า การฆ่าคน

                  นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นบาปในทางศาสนา เป็นต้น ระดับที่สอง เป็นสิทธิที่ต้องได้รับรองในรูปของ
                  กฎหมาย หรือต้องได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาล ได้แก่ การได้รับสัญชาติ การมีงานท า การได้รับ

                  ความคุ้มครองด้านแรงงาน ความเสมอภาคของหญิงชาย สิทธิของเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คน

                  พิการ การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประกันการว่างงาน การได้รับบริการทางด้าน

                  สาธารณสุข การสามารถแสดงออกทางด้านวัฒนธรรมอย่างอิสระ สามารถได้รับความเพลิดเพลิน

                  จากศิลปะ วัฒนธรรมในกลุ่มของตน เป็นต้น

                         ภิรมย์ ศรีประเสริฐ (2551: 9-13) กล่าวว่า ค าว่า “สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) ไม่มี

                  การก าหนดความหมายไว้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2542  มีเพียงค าว่า
                  “สิทธิ” หมายความว่า อ านาจอันชอบธรรม อ านาจที่จะกระท าการใดๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับ

                  การรับรองจากกฎหมาย  หากแปลความตามตัวอักษร  “สิทธิมนุษยชน”  ย่อมหมายถึงสิทธิของ

                  มนุษย์ หรืออ านาจอันชอบธรรมที่สืบเนื่องมาจากความเป็นมนุษย์ ในอันที่จะกระท าการใดๆ ได้

                  อย่างอิสระโดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย

                         ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ไม่

                  มีนิยามค าว่า “สิทธิมนุษยชน” ไว้โดยเฉพาะเจาะจง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของปฏิญญาฯ ท าให้

                  เห็นถึงแนวความคิดพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ได้แก่








                                                          - 19 -
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68