Page 60 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 60

บทที่ 3

                                  แนวคิด ความเป็นมาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน



                         จากการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าอัจณรา ฉายากุล (2546  :  1-4) ได้รวบรวม

                  แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้อย่างกว้างขวาง โดยได้กล่าวถึงแนวคิดว่ามนุษย์มีสิทธิบน

                  พื้นฐานบางประการที่ควรจะได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศได้มีมานานแล้ว

                  ดังจะเห็นได้จากสนธิสัญญาต่อต้านการค้าทาสในช่วงศตวรรษที่ 19 หรือข้อตกลงเกี่ยวกับแนว

                  ปฏิบัติของรัฐในการท าสงครามให้ค านึงด้านมนุษยธรรม เช่น การห้ามใช้อาวุธร้ายแรงบาง
                  ประเภท การคุ้มครองเชลยศึกสงคราม ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และพลเรือน เป็นต้น หรือช่วงหลัง

                  สงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) ขึ้น สนธิสัญญา

                  สันติภาพ ค.ศ. 1919 ได้ประกันการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อย รวมทั้งแนว

                  ปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยซึ่งอาศัยอยู่ในเขตดินแดน อย่างไรก็ดี แนวคิดหลักโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ

                  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น รัฐยังคงเป็นผู้ทรงสิทธิ
                              ั
                  (Subject)  ปจเจกบุคคลไม่มีสถานะใดๆ ที่จะเรียกร้องหรือคุ้มครองสิทธิของตนภายใต้กลไกของ

                  กฎหมายระหว่างประเทศได้ หลักจารีตของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงสนธิสัญญาหรือความ
                  ตกลงที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วงดังกล่าวยังคงจ ากัดอยู่แต่เฉพาะกลุ่มบุคคลที่อยู่ภายใต้เขตอ านาจรัฐ

                  นอกจากนี้ รัฐยังมีอธิปไตยเหนือดินแดนและคนในชาติ โดยกฎหมายระหว่างประเทศไม่สามารถ

                  เข้าแทรกแซงเหนือเขตอ านาจรัฐ (Domestic Jurisdiction) ยกเว้นกรณีที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาที่รัฐ

                  นั้นได้กระท าและรับเอาพันธกรณีไว้

                                                                                              ้
                         เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ไม่สามารถปองกันการ
                  รุกรานและการปฏิบัติอย่างโหดร้ายและไร้มนุษยธรรมต่อมนุษย์ด้วยกันได้ท าให้การจัดตั้งองค์การ

                  สหประชาชาติเมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงเน้นความส าคัญของการสร้างสันติภาพการรักษาความ

                  มั่นคงร่วมกันของสมาชิกประชาคมโลก ซึ่งการเคารพสิทธิมนุษยชนถือเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญ

                  ประการหนึ่งในการประกันความมั่นคงและสันติภาพของโลกและมวลมนุษยชาติดังกล่าว การ
                                                                                      ้
                  จัดตั้งองค์การสหประชาชาติ จึงมีจุดมุ่งหมายที่ส าคัญประการหนึ่งคือ การปองกันมิให้เกิดการ
                  กระท าที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อมวลมนุษยชาติอย่างรุนแรงขึ้นอีกมาตรา 1 ของกฎบัตร

                  สหประชาชาติ จึงได้บัญญัติเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนและ

                  เสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเป็นสากล โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา

                         กฎบัตรสหประชาชาติซึ่งได้รับการรับรองเมื่อ ค.ศ. 1945 ได้มีบทหรือมาตราที่เกี่ยวข้อง

                  กับสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนอยู่หลายข้อ และถือเป็นเอกสารส าคัญในการรับรองหลักการเรื่อง


                                                          - 16 -
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65