Page 61 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 61

4. บริบททางสังคมที่เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิที่ดิน



                       4.1 เหตุปัจจัยการละเมิดสิทธิในที่ดิน

                              จากงานวิจัยและรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
                              ั
                                                     ้
                       พบว่า ปญหาขัดแย้งที่ดินจนเป็นคดีฟองร้องราษฎรที่ยากจนมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ
                       ระบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีอิทธิพลในการกําหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของประเทศ
                                                  ั
                       ที่มุ่งใช้ที่ดินและทรัพยากรเป็นปจจัยการผลิตสนับสนุนการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยละเลย
                       หรือปฏิเสธระบบการถือครองใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรตามวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของ
                       ชุมชนในท้องถิ่น คนที่มีทุนมีอํานาจเงินสามารถเข้าถึงอํานาจรัฐและใช้อํานาจรัฐหรือร่วมมือกับ
                       เจ้าหน้าที่รัฐใช้อํานาจตามกฎหมายไปแก่งแย่งครอบครองที่ดินและทรัพยากรของราษฎรและชุมชน

                       ด้วยกลไกและวิธีการต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่รวมศูนย์
                       อํานาจตัดสินใจไว้ที่รัฐส่วนกลางที่ไร้ประสิทธิภาพ เพราะไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายกับเจ้าหน้าที่รัฐ
                       และผู้มีอํานาจที่ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทําให้ราษฎรในชนบทที่ขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบ

                       วิธีปฏิบัติของทางราชการตลอดจนตัวบทกฎหมาย ต้องถูกข่มเหงรังแกโดยไม่มีหนทางและโอกาสต่อสู้
                       อย่างเท่าเทียมกัน

                              ระบบทุนนิยมผูกขาดใช้อํานาจเป็นใหญ่มีอิทธิพลอย่างสําคัญต่อการกําหนดนโยบายและ
                       ทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเพราะทําให้รัฐต้องปรับตัวมาร่วมมือรวมทั้ง
                       ร่วมทุนกับต่างประเทศในแทบทุกด้าน ซึ่งในด้านหนึ่งก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาและความร่วมมือ
                       ทางเศรษฐกิจและการค้ากับนานาประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งได้แก่งแย่งทรัพยากรไปจากคนในชนบท

                       ที่รู้ไม่เท่าทันและไม่มีภูมิคุ้มกัน ที่ดินในแนวคิดทุนนิยมเป็นสินทรัพย์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เรื่องที่ดิน
                       จึงเป็นประเด็นแรก ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายจากการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้คน

                       ไทยมีที่อาศัยทํากินกันทั่วถึงการจํากัดขนาดที่ดินถือครองและสร้างเงื่อนไขเข้มงวดในการถือครอง
                       ที่ดินของต่างชาติ มาเป็นนโยบายการถือครองที่ดินโดยเสรีตามกลไกตลาดที่นายทุนมีอํานาจเหนือ
                       และกําหนดระบบสิทธิของรัฐและสิทธิของเอกชน โดยปฏิเสธการยอมรับสิทธิหรือระบบการถือครองใช้
                       ประโยชน์ที่ดินของบุคคลและสิทธิของชุมชนตามวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา

                       ดังเช่น กลุ่มชาวไทยภูเขาชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ชาวมลายูถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนชาวเล
                       และกลุ่มวัฒนธรรมในพื้นที่ชายของต่าง ๆ ซึ่งมีระบบการถือครองใช้ประโยชน์ที่ดินตามจารีตประเพณี
                                                                        ั
                       ที่ไม่เน้นการมีสิทธิเด็ดขาดเป็นเจ้าของแต่เป็นระบบแบ่งปนและจัดการร่วมโดยการรับรู้ร่วมกันของ
                       คนทั้งชุมชนจนเป็นวัฒนธรรมปฏิบัติสืบทอดกันแต่ครั้งบรรพบุรุษ
                              อิทธิพลของระบบทุนนิยมมีผลต่อแนวคิดของผู้บริหารประเทศและการกําหนดนโยบายของรัฐ

                       เป็นอย่างมากตั้งแต่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับแรก รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์
                       ยกเลิกการจํากัดการถือครองที่ดินที่กําหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐบาลชุดต่อ ๆ มาได้ปรับปรุง
                       แก้ไขรวมทั้งออกกฎหมายอีกหลายฉบับรวมทั้งกฎหมายด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมอนุญาตให้

                       นายทุนต่างชาติถือครองที่ดินได้ ผนวกกับนโยบายเศรษฐกิจอื่น ๆ อีก เช่น นโยบายสัมปทานทําไม้


                                                                                                       4‐1
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66