Page 63 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 63

ั
                                                      ั
                       และที่เข้าไปอยู่ใหม่อยู่เสมอ ประเด็นปญหาที่เป็นหัวข้อในการศึกษาครั้งนี้จึงต้องการศึกษาปญหาการ
                       ละเมิดสิทธิที่ดินของราษฎรที่เกิดจากการใช้อํานาจเหนือในการกําหนดนโยบายและกฎหมาย
                       ตลอดจนการกระทําที่ไม่สุจริต เอารัดเอาเปรียบ ฉ้อโกงราษฎร จนเกิดข้อพิพาทเป็นคดีความและ

                       ราษฎรรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ให้ความเป็นธรรมกับเขา

                       4.2 การออกเอกสารสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน

                              ในอดีตย้อนยุคไปถึงสมัยกรุงสุโขทัย ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ที่ออกแรงออกทุนบุกเบิกหักร้าง
                       ถางพงในที่ดินจนเพาะปลูกได้ผลประโยชน์แล้วและเมื่อเจ้าของที่ดินตายลง ก็ยอมรับรองให้ทายาท

                       บุตรหลานสืบมรดกตกทอดต่อกันไปโดยไม่มีการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินแต่อย่างใด  ต่อมา
                       ในสมัยอยุธยาได้ออกกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จเกี่ยวกับที่ไร่ที่นาเรือกสวนให้ที่ดินในแว่นแคว้น

                       กรุงศรีอยุธยาเป็นของพระเจ้าอยู่หัว ราษฎรเป็นผู้ถือครองในฐานะผู้อาศัย เสียภาษีเสมือนค่าเช่า
                       ห้ามไม่ให้ซื้อขายซึ่งกันและกัน จึงเริ่มมีการออกใบอนุญาตที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี
                       โดยมีกรมนาเป็นผู้ดูแลจัดที่ดินซึ่งยังรกร้างเป็นทําเลเปล่าให้ราษฎรเข้าก่นสร้างให้มีประโยชน์และ

                       ออกโฉนดให้เพื่อเก็บภาษี   และในสมัยรัชกาลต่อ ๆ มาจนถึงต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีระบบ
                       พระราชทานนาให้ผู้มีบําเหน็จความชอบหรือศักดินา มีการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่บ้านเพื่อแสดง
                       ขอบเขตที่ดินที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยและนําไปออกโฉนดได้ จนถึงสมัยรัชการที่ 4 พบว่า การเข้าทํา

                       ประโยชน์ที่ดินราษฎรมักไม่ขออนุญาตจึงเก็บภาษีขาดไปจึงให้มีการรังวัดที่นาเพื่อเก็บภาษีและ
                       ออกโฉนดตราแดงเพื่อประโยชน์ในการเก็บค่านาแต่ก็ใช้สืบทอดมรดกกันได้จนมี พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน
                       จึงเปลี่ยนตราแดงเป็นโฉนดที่ดินทั้งหมด รวมถึงการมีพระราชโองการห้ามไม่ให้ขายที่ดินภายใน

                       พระนครและห่างกําแพงนครไม่เกิน 200 เน้นให้แก่คนต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 10 ปี
                       เว้นได้รับอนุญาตจากเสนาบดี แต่ก็มีประกาศขายที่ดินฝากหรือการจํานําที่สวนที่นาแก่กันได้
                       และตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ยังได้มีการออกเอกสารเกี่ยวกับสิทธิการถือครองที่ดินอีกหลายรูปแบบ
                                          ่
                       เช่น โฉนดสวน โฉนดปา ใบเหยียบยํ่า ตราจอง โฉนดตราจอง โฉนดแผนที่ โฉนดที่ดิน โดยได้มีการ
                       ปรับปรุง พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดินถึง 7 ฉบับเพื่อให้การเก็บภาษีอากรสะดวกและการวิวาทบุกรุกแย่งชิง
                       ที่ดินเบาบางลง แต่ก็ยังมีที่ดินที่ราษฎรครอบครองทําประโยชน์อยู่จํานวนไม่น้อย จนถึงยุคประมวล

                       กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 จึงให้มีการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 2497 ถึง
                       29 พ.ค. 2498 และใช้หลักฐาน ส.ค.1 ขอออกโฉนดที่ดินได้ตามมาตรา 58 พ.ร.บ. ประมวลกฎหมาย
                       ที่ดิน 2497 ไม่ว่าที่ดินนั้นภายหลังจะอยู่ภายในบังคับหรือเงื่อนไขตามกฎหมายอื่น  ส่วนผู้ที่ไม่ได้แจ้ง

                       ครอบครอง (ส.ค.1) แต่มีเอกสารรับรองการทําประโยชน์รูปแบบต่าง ๆ อยู่เดิม หรือได้ครอบครองและ
                       ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อกันมาจนถึงวันเดินสํารวจเพื่อออกโฉนดที่ดินในปี 2515 ก็ให้ไปแจ้งการ
                       ครอบครองได้ที่อําเภอ หรือเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่เพื่อการครองชีพ ก็อาจขอออกโฉนด
                       ที่ดินได้ตามมาตรา 58 ทวิ และ 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

                              การออกเอกสารโฉนดที่ดินในระยะหลัง มีทั้งวิธีการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 58,

                       59 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งการสํารวจภาคพื้นดินและเดินสํารวจโดยใช้ระวางแผนที่รูปถ่ายทาง
                       อากาศ วิธีเปลี่ยน น.ส.3ก เป็นโฉนดที่ดิน (ตามมาตรา 58 ตรี) วิธีการออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย (ตามมาตรา


                                                                                                       4‐3
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68