Page 60 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 60

สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข รัฐจึงดํารงอยู่เพื่อมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์อยู่เพื่อรัฐ ดังนั้น ศักดิ์ศรี
                       ความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่รัฐต้องให้ความสําคัญ โดยยึดถือระบบนิติธรรม หลักนิติธรรม จึงมีความ
                       เกี่ยวพันกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลและสิทธิในความเสมอภาคเพราะสิทธิทั้งสองถือว่าเป็นพื้นฐานของ

                       ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รัฐต้องให้ความเอกภาพในสิทธิและเสรีภาพในการดํารงชีวิต คิด และกระทําการ
                       ต่าง ๆ ที่ต้องการอย่างเต็มที่
                              กรอบของการใช้สิทธิที่เป็นยอมรับในสังคมประชาธิปไตย คือ "สิทธิ" (Rights)  จะจํากัดลงได้

                       ก็แต่โดยกฎหมายเท่านั้น กฎหมายที่รัฐออกมาเพื่อจํากัดขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคล
                       ต้องเป็นกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนประชาชนตามหลักประชาธิปไตย (รัฐสภา) เท่านั้น
                       อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐแม้จะมีฐานะเป็นบุคคล แต่ก็เป็นบุคคลในแง่

                       นามธรรมหรือนิติบุคคลเท่านั้น หาได้มีตัวตนและมีชีวิตจิตใจดังเช่นบุคคลธรรมดาไม่ ดังนั้น รัฐจึงย่อม
                       ไม่สามารถใช้อํานาจอธิปไตยกระทําการ ต่าง ๆ ทั้งสามอํานาจได้ด้วยตนเอง รัฐจําเป็นต้องมีบุคคล
                       ธรรมดาคนหนึ่งหรือคณะหนึ่งเป็นอย่างน้อย เป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตยกระทําการต่างทั้งสามอํานาจแทนตน

                       บุคคลธรรมดาที่ใช้อํานาจอธิปไตยของรัฐแทนรัฐและในนามของรัฐนี้ เรียกว่า องค์กรรัฐ (Organ of State)
                              การใช้สิทธิเสรีภาพอย่างไม่มีขอบเขตจํากัด จะก่อให้เกิดสภาวะอนาธิปไตยเกิดขึ้นมาในรัฐได้
                       และนําไปสู่การไม่มีเสรีภาพเหลือเลย ดังนั้น รัฐจึงจําเป็นต้องตรากฎหมายที่จํากัดหรือให้อํานาจรัฐ

                       ในการจํากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อเข้ามาจัดระบบคุ้มครองประชาชน จัดระเบียบการใช้สิทธิ
                       เสรีภาพของประชาชนเพื่อมิให้การใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนคนหนึ่งไปกระทบหรือละเมิดต่อสิทธิ
                       เสรีภาพของประชาชนคนอื่น ๆ ในสังคมหรือต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น การใช้สิทธิตามธรรมชาติ

                       ของมนุษย์แต่ละคน จะมีก็แต่เพียงข้อจํากัดเฉพาะที่มอบให้สมาชิกอื่นของสังคมสามารถใช้สิทธิเหล่านี้ได้
                       เช่นเดียวกัน ข้อจํากัดเช่นว่านี้ จะกําหนดขึ้นได้ก็แต่ตัวบทกฎหมายให้อํานาจเท่านั้น
                              ทั้งหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ล้วนแต่มุ่งเน้นสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และความเป็นธรรม

                       หากหน่วยงานของรัฐใช้หลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรมในการบริหารจัดการที่ดิน ก็จะช่วยให้ราษฎร
                                                             ้
                       มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิ และมีกระบวนการปกปองคุ้มครองราษฎรให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกละเมิดสิทธิ
                        ั
                       ปญหาความขัดแย้งในสิทธิที่ดินก็จะหมดไป

























                                                                                                      3‐31
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65