Page 56 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 56
ั
จัดการที่ดินที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขจัดการปญหา อีกทั้งการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้
กฎหมาย และทัศนคติที่ละเลยและปฏิเสธองค์ความรู้ชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
ทรัพยากร ด้วยมูลเหตุเช่นนี้ การแก้ไขตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายบนแนวคิดการเคารพ
ซึ่งสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐ การปรับปรุงองค์กรบริหารที่ดินบนแนวคิด
ธรรมาภิบาล ตลอดจนการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ
ั
จึงเป็นคําตอบสําหรับการแก้ไขปญหาการจัดการที่ดินที่สั่งสมมายาวนานหลายทศวรรษนั่นเอง
3.4 การบริหารจัดการที่ดินที่ดี
ั
ั
ั
การบริหารจัดการที่ดินของรัฐในปจจุบันที่มีปญหามากเพราะเหตุปจจัยหลายประการ เช่น
ความไม่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น การมุ่งเน้นแต่เศรษฐกิจโดยละเลยมิติทางสังคม วัฒนธรรม
และระบบนิเวศทางธรรมชาติ จึงทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับประชาชนที่ยากจนและด้อยโอกาส
้
ดังนั้น การดําเนินการปกปองคุ้มครองสิทธิของประชาชนจึงต้องมีองค์ความรู้ทางทฤษฎีมาช่วยเสริม
การคิดวิเคราะห์ ซึ่งได้นําเรื่องธรรมาภิบาลและเรื่องหลักนิติธรรมมาอธิบายประกอบดังนี้
3.4.1 ธรรมาภิบาล
แนวคิดธรรมาภิบาลหรือ Good governance แพร่หลายในประเทศไทยราวต้นศตวรรษที่ 2540
โดยได้มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาหลายคํา เช่น ธรรมาภิบาล ประชารัฐ ธรรมรัฐ ระบบบริหารกิจการบ้านเมือง
และสังคมที่ดี บริษัทภิบาล เป็นต้น ส่วนธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการที่ดินเกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล
ในการบริหารการจัดการองค์กรหลายประการ ศิริรักษ์ ปภัสร์วิจิตร (2548) ศึกษาการบริหารรัฐวิสาหกิจ
ตามหลักธรรมาภิบาลซึ่งประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความ
ั
ั
ั
รับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า พบว่า ปญหาอุปสรรคในการบริหารงานเป็นปญหาที่มาจากทั้งปจจัย
ั
ภายนอกและปจจัยภายใน นอกจากนี้ความสับสนต่อวัตถุประสงค์ของรัฐบาลคือ เป็นมูลเหตุที่สําคัญ
ั
ที่ก่อให้เกิดปญหาในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ (2545) วิจัยเรื่อง
้
"ธรรมาภิบาลในความหมายของภาครัฐ เอกชนและประชาชน" กรณีโครงการโรงไฟฟาพลังความร้อน
ถ่านหิน "หินกรูด" พบว่า หลักนิติธรรม คือ ศูนย์กลางของหลัก ต่าง ๆ ในการสร้างธรรมาภิบาล
ในภาครัฐจะเน้นในเรื่องของสัญญาที่ผูกกับคู่สัญญา และการดําเนินงานโครงการตามกระบวนการของ
รัฐธรรมนูญเดิม ในส่วนของภาคเอกชน หลักธรรมาภิบาลที่ภาคเอกชนยึดถือและให้ความสําคัญ
เป็นพิเศษมากกว่าหลักอื่น ๆ คือ หลักนิติธรรม และหลักความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ในขณะที่หลักการมีส่วนร่วมคือหัวใจของภาคประชาชนในการที่จะสร้างธรรมาภิบาล ภาคประชาชน
เห็นว่า ประชาชนควรได้รับโอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของ
การกําหนดนโยบาย การพิจารณา ตลอดจนขั้นตอนของการดําเนินการโครงการจากแบบจําลองที่ได้จาก
การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ หลักอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการสร้างธรรมาภิบาลเป็นแค่ส่วนประกอบ
ที่อยู่รายรอบหลักการมีส่วนร่วมเท่านั้น
ั
คําฝน ดวงมี และคณะ (2550) ศึกษาเรื่อง "หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตําบล
ั
บางประหัน" ผลการศึกษา พบว่า ปจจัยที่ทําให้กระบวนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตําบล
3‐27