Page 59 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 59

5. ความรับผิดชอบของรัฐ (State Responsibility) ประชารัฐนั้นจัดตั้งเพื่อรักษาคุ้มครองสิทธิ
                       เสรีภาพของเอกชน โดยเอกชนทุกคนต้องเสียสละทรัพย์สินอันเป็นภาษีให้แก่การดําเนินงานของรัฐ
                       และในกรณีที่จําเป็นอาจถูกเกณฑ์แรงงานหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมตามความจําเป็นของรัฐ แต่ก็ยัง

                       ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในความสามารถที่จะเสียสละส่วนนี้ได้ มิใช่ผู้ใดจะต้องสูญเสีย
                       ประโยชน์เฉพาะตนมากกว่าผู้อื่น ดังนั้น ในกรณีที่รัฐ (โดยเจ้าหน้าที่)  ก่อให้เอกชนคนใดเสียหายรัฐ
                       จะต้องชดใช้เยียวยาความเสียหายไปตามที่เป็นธรรมในภาระที่อยู่ร่วมกันเป็นประชารัฐ
                                           ้
                              6. การมีสิทธิฟองคดีต่อศาล การควบคุมการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารนอกจาก
                       การวางกลไกการใช้อํานาจโดยวิธีทางการเมืองแล้ว เมื่อยอมรับว่าการใช้อํานาจทุกประเภทจะต้องอยู่ใน
                       ขอบเขตของกฎหมาย จึงจะต้องมีการตรวจสอบทางกฎหมายโดยองค์การอิสระเพื่อให้มั่นใจได้ว่า
                                                    ้
                       มีการปฏิบัติตามกฎหมายจริง การฟองคดีต่อศาลในกรณีที่เห็นว่ามีการใช้อํานาจผิดกฎหมาย จึงเป็น
                       สิ่งจําเป็นเพื่อเป็นหลักประกันสําหรับสังคมที่ยึดหลักนิติธรรม
                                                                                                    ้
                              7. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเอกชน การพิทักษ์สิทธิเสรีภาพ พื้นฐานของเอกชนเป็นเปาหมาย
                       ในการจัดการปกครองเป็นประชารัฐ การใช้อํานาจนิติบัญญัติ การใช้อํานาจบริหารและการใช้อํานาจ
                       ตุลาการล้วนแต่มีความมุ่งหมายเพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้น การที่กล่าวกันว่าศาลนั้น
                       เป็นที่พึ่งสุดท้าย (Last  Resort)  ของประชาชน ทําให้มีหลักกฎหมายสําคัญตามมาอีกหลายประการ

                       เช่น หลักการเสมอกันในกฎหมาย (Equality Before The Law) หลักสัดส่วนของการใช้อํานาจ(Proportionality)
                       หลักการไม่ใช้กฎหมายย้อนหลังให้เป็นโทษแก่บุคคล (Retoractivity) ซึ่งหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
                       ของเอกชนนี้ย่อมจะพัฒนาขยายไปตามขอบเขตที่เหมาะสมของสังคมในแต่ละกาลสมัย

                              ส่วนความกังวลพื้นฐานของพลเมืองคือ เจ้าหน้าที่รัฐอาจใช้อํานาจอย่างเกินไปไม่เหมาะ
                       ในการกระทําทางปกครองของพวกเขาโดยใช้การพิจารณาที่ไม่เหมาะสม เช่น โดยอคติ ตามอําเภอใจ
                                                                                                      ั
                       ตามอารมณ์ ตามกิเลสโทสะตามเจตจํานงที่ผิดปกติ ตามความคิดชั่วร้าย หรืออื่น ๆ มีหลายปจจัย
                                                                                         ั
                       ซึ่งบิดเบือนการกระทําและการทําการตัดสินของมนุษย์ หลักนิติธรรมกําจัดปจจัย ต่าง ๆ เหล่านี้
                       โดยยืนกรานเรียกร้องว่า เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติการตามที่และสอดคล้องกับ ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย
                       ที่เหมาะสมปฏิบัติได้ กฎหมายบังคับใช้ใน 2 ประการ เพื่อได้มาซึ้งประโยชน์นี้ ประการแรก เจ้าหน้าที่รัฐ

                       ถูกกําหนดให้ปรึกษาหารือและปฏิบัติตามกฎหมายทั้งก่อน และในขณะปฏิบัติหน้าที่ ต่าง ๆ ประการที่สอง
                       ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายได้ให้ข้อกําหนดและมาตรฐานโดยสาธารณะไว้ซึ่งสามารถนํามาใช้
                       เพื่อดําเนินการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ปกครองในขณะและหลังการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขา

                              หลักนิติธรรมต้องประกอบด้วยหลักการพื้นฐานอะไรบ้าง เป็นที่ถกเถียงของนักวิชาการมายาวนาน
                       ในที่นี้จึงขอสรุปถึงองค์ประกอบของหลักนิติธรรม (Rule  of  Law)  ดังนี้คือ หลักหน้าที่ของรัฐและการ

                       คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหลักแห่งการแบ่งแยกการใช้อํานาจ (Separation of Power) หลักแห่งการ
                                                                                                 ่
                                                                                  ่
                       มีกฎหมายที่ดี (Good Law) หลักแห่งความชอบด้วยกฎหมายของฝายปกครองและฝายตุลาการ
                       (Administrative Legality and Judiciary Iegality) และหลักแห่งความรับผิดชอบ (State Responsibility)
                              รัฐเป็นสถาบันที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความต้องการที่จะอยู่ร่วมกัน โดยมีความผูกพัน
                                                                                     ้
                       ทั้งทางวัตถุและจิตใจ การดํารงอยู่และการดําเนินกิจกรรมของรัฐ จึงมีเปาหมายเพื่อให้สมาชิกรัฐ


                                                                                                      3‐30
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64