Page 62 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 62

่
                       นโยบายปลูกสร้างสวนปา นโยบายขยายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ทําให้มีการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม
                       และสิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภคอย่างกว้างขวาง เช่น ถนน เขื่อน อ่างเก็บนํ้า ทําให้ประชากรต้องอพยพ
                                                                                                         ่
                       เคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ที่ทํากินจากการตัดถนน การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บนํ้า รวมทั้งการทําสวนปา
                       จนทําให้เกษตรกรที่ยากจนเดินขบวนประท้วงรัฐบาลกันอย่างกว้างขวาง แต่ส่งเสริมการเกษตร
                       เป็นนโยบายที่มีผลกระทบต่อการสูญเสียที่ดินอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เพราะไปปรับเปลี่ยนระบบ
                                                                                     ๋
                       การผลิตแบบอิงธรรมชาติมาเป็นระบบเกษตรแผนใหม่ใช้พันธุ์เครื่องจักรกล ปุยและยาจากต่างประเทศ
                       ทําให้ต้นทุนเกษตรกรสูงแต่รายได้ตํ่าเพราะไม่มีอํานาจต่อรองราคาพืชผลกับการตลาด จึงมักขาดทุน
                                                                                             ่
                                                                       ่
                       เป็นหนี้สินและสูญเสียที่ดิน แม้เกษตรกรจะเข้าไปบุกเบิกปาหาที่ทํากินใหม่จนพื้นที่ปาถูกเปลี่ยนเป็น
                       พื้นที่เกษตรไปปีละ 2 - 3  ล้านไร่ในช่วงนั้น แต่ก็ไม่อาจรักษาที่ดินผืนใหม่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจ
                       ทุนนิยมไว้ได้ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ของความยากจนคือถูกเอารัดเอาเปรียบ ขาดทุน
                       เป็นหนี้สิน สูญเสียที่ดิน จํานวนเกษตรกรไร้ที่ทํากินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3
                       จนส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคม

                              แม้รัฐบาลจะมีโครงการจัดที่ดินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่สูญเสียที่ดินตลอดมา เช่น การจัดที่ดิน
                       ช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ของกรมที่ดินตั้งแต่ปี 2501 นิคมกรมส่งเสริมสหกรณ์ นิคมสร้างตนเอง
                       โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตั้งแต่ปี 2511 และตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมาก็มีโครงการปฏิรูปที่ดิน
                                                                                              ่
                                           ่
                                                                       ่
                       ซึ่งส่วนใหญ่จัดในพื้นที่ปาไม้ที่เสื่อมสภาพ การจัดหมู่บ้านปาไม้และสิทธิทํากินในพื้นที่ปาไม้ โครงการ
                                                ่
                       จัดที่ดินของรัฐเหล่านี้ใช้ที่ดินปาไม้ของรัฐมาจัดสรรให้เกษตรกรกว่า 50 ล้านไร่ แต่ส่วนใหญ่ไม่ประสบ
                       ความสําเร็จเพราะไม่สามารถสนับสนุนเกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ที่ดินสร้างอาชีพ
                       รายได้เลี้ยงชีพอยู่ได้พอเพียง สุดท้ายไม่สามารถรักษาที่ดินไว้ได้ ที่ดินก็ถูกเปลี่ยนมือไปสู่คนอื่น
                       ผู้ไม่ได้ครอบครองและไม่ได้ทําการเกษตรด้วยตนเอง
                              นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในต้นทศวรรษ 2530

                       แม้จะช่วยให้ประเทศในอินโดจีนที่มีอุดมการณ์และระบบการปกครองต่างกันเลิกรบกัน หันมาร่วมมือกัน
                       ทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีส่วนสําคัญไปกระตุ้นให้เกิดการกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกําไรอย่างกว้างขวางมากที่สุด
                       จนทั่วประเทศ ประกอบกับการมีนโยบายอื่น ๆ ทํานองเดียวกันตามมาอย่างต่อเนื่องอาทินโยบาย

                       การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน นโยบายการปลูกพืชพลังงานทดแทน ตลอดจนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว
                       ทําให้การแก่งแย่งที่ดินรุนแรง ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นตามแรงขับทางเศรษฐกิจ ราษฎรชนบทไม่อาจต้านพลัง
                       ทุนกว้านซื้อที่ดินได้ จําเป็นต้องขายหรือถูกบังคับให้ขายที่ดิน ผู้ที่ไม่ขายก็จะถูกจัดการด้วยอิทธิพล

                       และวิธีการที่ไม่สุจริต เช่น ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินของราษฎร จนราษฎรรายเล็กรายน้อยต้องสูญเสีย
                                   ั
                       ที่ดินในที่สุด ปญหาซ่อนเร้นจากการออกเอกสารสิทธิที่ดินทับที่ดินราษฎรในชนบทปรากฏชัดมาก
                                       ้
                       ในช่วงนี้และมีการฟองร้องดําเนินคดีขับไล่ราษฎรออกจากที่ดินกันมาก
                              ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการพัฒนาที่เอื้อระบบทุนนิยม ยังทําให้หน่วยงานของรัฐ
                       อ้างนโยบายการพัฒนาเข้าครอบครองที่ดินของราษฎรที่ไม่มีเอกสารสิทธิรับรองเพื่อนําไปปฏิบัติ
                                                                                       ่
                       ภารกิจตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานด้านปาไม้ การเกษตร และ
                       หน่วยงานด้านความมั่นคงที่ครอบครองที่ดินไว้เป็นจํานวนมากโดยมิได้มีการจัดการใช้ประโยชน์
                       ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวอ้างเท่าใดนัก จึงมักเกิดข้อพิพาทในสิทธิที่ดินกับราษฎรทั้งที่อยู่เดิม



                                                                                                       4‐2
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67