Page 65 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 65

แห่งชาติซึ่งเนื้อที่ 6.4  ล้านไร่ จํานวน 450,000  ราย อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์
                       ซึ่งมีเนื้อที่ 2,243,943  ไร่ จํานวน 185,916  ราย และอาศัยอยู่ในที่ราชพัสดุซึ่งเนื้อที่ 2,120,196  ไร่
                       จํานวน 161,932  ราย (ข้อมูลปี 2543)  ส่งผลให้เกิดการจับกุมดําเนินคดี โดยข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2553
                                                                                    ั
                       พบว่ามีคนจนที่ต้องคดีที่ดินทั้งสิ้น 836  ราย ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะปญหาขาดแคลนที่ดินทํากิน
                                             ั
                       ในหมู่เกษตรกร  พบว่าในปจจุบันมีเกษตรกรไทยที่ไม่มีที่ดินทํากินกว่า 889,022  ราย  มีเกษตรกรที่มี
                       ที่ดินไม่พอทํากินกว่า 517,263 ราย และมีเกษตรกรที่มีที่ดินทํากินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 811,279 ราย

                              หากแต่สัดส่วนการถือครองที่ดินของนิติบุคคล กลับพบว่า กลุ่มของผู้ที่มีที่ดินมากสุด 20%
                       แรก  ถือครองที่ดินต่างจากกลุ่มที่มีที่ดินน้อยสุดถึง 729 เท่า โดยผู้ถือครองที่ดินสูงสุดมีที่ดินถึง
                       2,853,859 ไร่  3 งาน 90 ตารางวา ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มีการระบุไว้ว่าใครเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว แต่มี

                       ข้อสังเกตว่า อาจเป็นการถือครองโดยเจ้าของรายเดียว ที่มีชื่อ - นามสกุลเหมือนกันหรือหลายรายก็
                       เป็นได้ ทําให้มีขนาดการถือครองสูงมากเช่นนี้
                              ส่วนการถือครองที่ดินของบุคคลธรรมดาพบว่า กลุ่มที่มีที่ดินมากที่สุด 20% แรก ถือครองที่ดิน

                       ต่างจากกลุ่มที่มีที่ดินน้อยสุดถึง 600 กว่าเท่า โดยบุคคลธรรมดาที่ถือครองที่ดินสูงสุด มีที่ดิน
                       ในครอบครองถึง 630,000 ไร่ หากจําแนกผู้ถือครองที่ดิน โดยนําสัดส่วนการถือครองที่ดินของบุคคล
                       ธรรมดาและนิติบุคคลมาหาค่าเฉลี่ย ยังพบตัวเลขกลุ่มผู้ที่ถือครองมากสุด 10% ถือครองที่ดินถึง 80%

                       ของที่ดินมีโฉนดทั้งหมด ส่วนประชาชนกลุ่มที่เหลืออีก 90% กลับถือครองที่ดินเพียง 20% ของที่ดิน
                       มีโฉนดทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินเป็นอย่างมาก
                                                                         ั
                              ขณะที่ การถือครองที่ดินของนักการเมืองในรัฐบาลปจจุบัน จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
                                              ้
                       จากสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบว่า ส.ส. บัญชีรายชื่อ
                       จํานวน 118 ราย ถือครองที่ดินมีมูลค่ารวมกันถึง 8,000 ล้านบาท ส่วน ส.ส. เขต จํานวน 346 ราย
                       ถือครองที่ดินมีมูลค่ารวม 7,800 กว่าล้านบาท และถ้าดูจากขนาดการถือครองที่ดิน ทั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ

                       และ ส.ส. เขต ถือครองที่ดินรวมกันทั้งสิ้นกว่า 27,000 ไร่ (ดวงมณี  เลาวกุล 2554)  จากตัวเลขนี้
                       จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดเมื่อมีการพูดถึงเรื่องภาษีที่ดิน การดําเนินการต่าง ๆ จึงไม่ค่อยขยับ
                       ไปไกลมากนัก น่าจะมีคําอธิบายอยู่ในตัว

                                                                                          ั
                                              ั
                              ข้อมูลสถานการณ์ปญหาที่ดินที่ปรากฏข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงสาเหตุของปญหาในทางนโยบาย
                       ที่ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียม เป็นธรรมในการเข้าถึงฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยประกอบไปด้วย
                       สาเหตุ ดังนี้

                              1) นโยบายเร่งรัดออกโฉนดที่ดิน และเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เพื่อสร้างหลักประกันให้บุคคลมีสิทธิ
                       ในที่ดินอย่างมั่นคง  โดยไม่มีการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม  ไม่มีการควบคุมการเก็งกําไร

                       ซื้อขายที่ดิน  และไม่มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดิน  จึงทําให้มีการกระจุกตัวการได้เอกสารสิทธิ
                       ที่ดินสําหรับบุคคลที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
                                                                               ่
                                                                                          ั่
                              2) นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวที่กระตุ้นให้เกิดแย่งชิงพื้นที่ปา  พื้นที่ชายฝงทะเล  มาเป็นพื้นที่
                       อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งมีผลกระทบต่อการแย่งชิงทรัพยากรที่ดิน







                                                                                                       4‐5
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70