Page 58 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 58
่
ที่ประโยชน์ขัดกันต้องจัดการให้เกิดดุลยภาพที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝาย (ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์,
2540 : 25) ขณะที่หยุด แสงอุทัย (2506 : 90 - 93) เห็นว่า นิติธรรมมีหลักสําคัญ 3 ประการ คือ
1) กฎหมายเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดในการปกครองประเทศ 2) ขอบเขตอํานาจหน้าที่ของรัฐมีจํากัด
ไว้แน่นอน 3) ศาลมีอิสระในการพิจารณาและตรวจสอบความชอบกฎหมายในการปกครอง ชัยวัฒน์
วงศ์วัฒนศานต์ (2540 : 20) อธิบายว่า เป็นการปกครองโดยกฎหมายที่เป็นธรรม อีกนัยหนึ่งเป็นหลัก
ที่การปกครองดําเนินไปอย่างเป็นธรรม โดยกลไกกฎหมายซึ่งมีความหมายหลักว่า การปกครองโดย
้
กฎหมายอีกระดับหนึ่งและมิใช่เป็นหลักกฎหมายอย่างลอย ๆ แต่มีแนวโน้มให้เห็นถึงเปาหมายของ
หลักการดังกล่าวด้วย
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ (2540 : 25 - 26) เสนอว่าอาจจําแนกสาระสําคัญของหลักนิติธรรม
ออกได้ดังนี้
1. การปฏิบัติตามกฎหมายทุกองค์กรของรัฐ (Supremacy of Law) ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจ
ทางนิติบัญญัติทางบริหารหรือทางตุลาการ อันเป็นเรื่องของการจัดกลไกการใช้อํานาจรัฐ (Machinery of
Government) โดยแต่ละองค์กรจะมีขอบเขต ข้อจํากัดของการใช้อํานาจ ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่
แตกต่างกันและจะไม่มีองค์กรใดมีอํานาจเหนือกฎหมาย
2. หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) หลักการแบ่งแยกอํานาจเป็นหลักการเบื้องต้น
เพื่อมิให้อํานาจรวมอยู่ในบุคคลเดียวกันจนเกิดการใช้อํานาจโดยไม่มีการคานและดุลกัน อันจะเป็นการ
เปิดช่องทางให้เกิดการใช้อํานาจโดยมิชอบได้ง่าย
3. การมีกฎหมายที่ดี (Good Law) อันจะเกี่ยวข้องทั้งในหลักเกณฑ์การจัดให้มีกฎหมายและ
สาระของกฎหมายในแง่หลักเกณฑ์การจัดให้มีกฎหมายโดยทั่วไปเห็นตรงกันว่ากฎหมายต้องมีความ
ชัดเจน (Clarity) เพื่อให้บุคคลเข้าใจความหมายได้ง่ายและสามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
หรือสามารถใช้กฎหมายได้ถูกต้อง นอกจากนี้กฎหมายจะต้องมีความแน่นอนมั่นคง (Certainty)
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายบ่อยเกินไปย่อมจะก่อให้เกิดความสับสนและทําให้ประชาชนไม่มั่นใจในสิทธิ
และหน้าที่ของตน ทําให้ไม่อาจวางแผนในชีวิตได้เหมาะสมตามควร ความแน่นอนมั่นคงของกฎหมายนี้
จะมีผลสืบเนื่องถึงสิทธิหน้าที่ที่เกิดขึ้นตามมาด้วย หลักความมั่นคงแห่งสิทธิ (Security of Right) ทําให้
สมาชิกในสังคมทุกคนได้รับประโยชน์และการปฏิบัติที่เป็นธรรม ความเป็นธรรมในสาระนี้จึงสะท้อนถึง
่
การคุ้มครองฝายที่อ่อนแอมิให้ต้องเสียเปรียบหรือมิให้โอกาสโดยความเป็นจริงทางเศรษฐกิจหรือสังคม
สร้างความเหลื่อมลํ้าแก่ผู้ที่มีโอกาสด้อยกว่าจนเกิดความไม่เป็นธรรม แนวคิดที่จะให้บุคคลทุกคน
มีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายเศรษฐกิจและสังคมนั้น จึงย่อมเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
่
4. การชอบด้วยกฎหมายของการปกครอง (Administrative Legality) ในการปกครอง ฝายปกครอง
จะได้รับมอบหมายในการใช้บังคับกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์มหาชนและประโยชน์เอกชนและ
ต้องใช้อํานาจนั้นได้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย การใดที่ทําไปไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จะต้องถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือก่อให้เกิดความรับผิดชอบเพื่อ
เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเอกชนซึ่งในการนี้จะต้องอยู่ในบังคับการตรวจสอบทางกฎหมายและ
การตรวจสอบทางการเมืองตามลักษณะที่เหมาะสม
3‐29