Page 64 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 64

59) และวิธีการออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมาย
                       ที่ดิน (กรมที่ดิน 2554 : วิวัฒนาการการออกโฉนดที่ดินและทะเบียนที่ดิน)

                       4.3 สถานการณ์ที่ดิน


                              ในสังคมไทย ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินไม่ได้กระจายไปยังคนกลุ่มต่าง ๆ
                       อย่างเท่าเทียมกัน ความเหลื่อมลํ้าเกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินต่าง ๆ อย่างไม่เป็นธรรม

                       จนทําให้การเข้าถึงทรัพยากรกระจุกตัวอยู่ในมือคนส่วนน้อย จากเอกสารรายงาน เรื่อง สรุปสถานการณ์
                       และเหตุผลที่คนไทยควรสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน สํานักงานปฏิรูป (สปร.) พบว่า ประเทศไทยมีที่ดิน
                                                    ่
                       320.7  ล้านไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปาประมาณ 100  ล้านไร่ และเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 130  ล้านไร่
                       โดยสถานการณ์การถือครองที่ดินในประเทศไทยถือว่ามีการกระจุกตัวสูง ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือผู้มั่งมี
                       ส่วนน้อย โดยที่ดินประมาณ 108  ล้านไร่  ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 90  ของที่ดินที่มีประชาชน
                       ถือครองอยู่ทั้งหมดประมาณ 120 ล้านไร่ อยู่ในมือประชากรเพียง 6 ล้านคน ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะใน

                       กรุงเทพฯ โครงการวิจัยนโยบายและมาตรการการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้พบว่า
                       ผู้ถือครองที่ดิน 50 รายแรก จากทั้งหมด 5.7 ล้านราย ถือครองที่ดินถึงร้อยละ 10 โดยผู้ถือครองที่ดิน
                       มากที่สุด 50 อันดับแรก ถือครองที่ดินรวมกันถึง 41,509.67 ไร่ สูงกว่า 50 อันดับสุดท้ายซึ่งถือครอง

                       รวมกันเพียง 0.32 ไร่ ถึง 129,717.72 เท่า
                              ทั้งนี้ เอกสารข้อเสนอการกระจายการถือครองที่ดิน  โดย  คณะทํางานศึกษาแนวทางการ
                       ปฏิบัติตามนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินทั้งสิ้น 4  ชุด  ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามคําสั่งคณะอนุกรรมการ

                       ศึกษาแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายการ  กระจายการถือครองที่ดิน  ระบุว่า วิกฤตการถือครองที่ดิน
                       และการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากตลาดการซื้อขายที่ดินและการลงทุนในภาค
                       อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีการควบคุมการเก็งกําไรซื้อขายที่ดิน และการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบ

                       ขณะที่การวิจัยของมูลนิธิสถาบันที่ดิน พบอีกว่า 70 %  ของที่ดินที่มีการถือครองในประเทศไทย
                       ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือใช้ประโยชน์ไม่ถึง 50 %
                       ประเมินความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ 127,384  ล้านบาทต่อปี  บ่งชี้ว่า  มีคนจํานวนหนึ่งในสังคมไทย

                       ถือครองที่ดินจํานวนมากไว้  โดยไม่ได้นํามาใช้ประโยชน์อะไร  หากเก็บไว้เพื่อเก็งกําไร  เป็นสินค้า
                       เพื่อขายต่อ

                              ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปในลักษณะตรงข้ามกับการถือครองที่ดินของเกษตรกร  ที่พบว่า เกษตรกร
                       มากกว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ที่ไม่มีที่ดินทํากิน หรือมีที่ดินทํากินน้อยกว่า 10 ไร่ ตัวเลขการขึ้นทะเบียนคนจน
                                                                                                  ั
                       ทั่วประเทศ  พบคนที่ต้องการความช่วยเหลือเรื่องที่ดินทํากิน 4,800,000  ราย  ในขณะที่ปญหาที่ดิน
                       หลุดมืออันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการส่งเสริมการผลิตการเกษตรและผลกระทบการค้าเสรี
                                                                                                    ้
                       ทําให้มีที่ดินจํานวน 30  ล้านไร่  ของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ  อยู่ในระหว่างการถูกฟองร้อง
                       ดําเนินคดี และยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
                                              ั
                                                                       ั
                              จากสถานการณ์ปญหาที่เกิดขึ้นนี้ยังพบอีกว่าปญหาการขาดแคลนที่ดินทํากินยังนําไปสู่
                                                                                                    ่
                        ั
                                                              ่
                       ปญหาการบุกรุกพื้นที่ของรัฐ เอกชน หรือพื้นที่ปาสงวน โดยข้อมูลเมื่อปี 2543 มีผู้อยู่อาศัยในปาสงวน

                                                                                                       4‐4
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69