Page 55 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 55
10. ควรให้มีการศึกษาแนวทางในการจัดการทรัพยากรที่ดินของชุมชนอย่างจริงจังเพื่อนําไปสู่
การปรับเปลี่ยนกฎหมายและบทบาทขององค์กรไปตามแนวทางของรัฐธรรมนูญเพื่อผลักดันให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในทางที่ยอมรับสิทธิของบุคคลและชุมชนมากขึ้น
ั
ั
กล่าวได้ว่า ปญหาการจัดการที่ดินทําให้เกิดปญหาความขัดแย้งในสังคมและร้องเรียนการ
ละเมิดสิทธิมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างมากมาย
ลักษณะเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิ
ภาพรวมของความขัดแย้งด้านทรัพยากรจากผลการสํารวจความขัดแย้ง ปี พ.ศ. 2554 พบว่า
ประเทศไทยมีลักษณะความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงสุด คิดเป็นร้อยละ
31 ในขณะที่ความขัดแย้งด้านการเมืองและความขัดแย้งด้านบุคคล มีระดับความขัดแย้งรองลงมาคือ
ร้อยละ 26 เท่ากัน ส่วนความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมความเชื่อศาสนาประเพณีและอัตลักษณ์ มีระดับ
ความรุนแรงร้อยละ 17 (สํานักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ, 2555)
ส่วนการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่อยู่ใน
่
ั
ความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านที่ดินและปา นับตั้งแต่รับคําร้องแรกจนถึงปจจุบัน
เดือนเมษายน 2556 มีทั้งหมด 614 คําร้อง จําแนกเป็นคําร้องรายปีได้ตามตารางข้างล่างนี้
ตารางที่ 1 เรื่องร้องเรียนละเมิดสิทธิด้านที่ดินป่าไม้
ปีที่ร้องเรียน จํานวนที่ร้องเรียน
2544 - 2546 16
2547 38
2548 137
2549 84
2550 52
2551 36
2552 59
2553 57
2554 55
2555 56
2556 (มิ.ย. 56) 24
รวม 614
จากเรื่องร้องเรียนในตารางข้างต้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ทํารายงานการ
ตรวจสอบเสร็จแล้ว 260 เรื่อง จาก 288 คําร้อง (บางกรณีมีมากกว่าหนึ่งคําร้องเป็นเรื่องเดียวกัน)
่
ั
โดยมูลเหตุแห่งปญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินและปานั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายต่าง ๆ ที่ว่า
ั
ด้วยที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ปญหาการบริหารจัดการขององค์กรที่ทําหน้าที่ในการ
3‐26