Page 54 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 54
1. ควรกําหนดเขตการใช้ที่ดินประเภท ต่าง ๆ โดยพิจารณาสมรรถนะของดินความเหมาะสม
ของดินขนาดของพื้นที่ที่จะทําให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนวางแผนโดย
้
พิจารณาองค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้นควบคู่ไปกับเปาหมายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยให้
ความสําคัญกับการบังคับใช้แผนการใช้ที่ดินดังกล่าวซึ่งจะเป็นเงื่อนไขสําคัญที่จะนําไปสู่การใช้ที่ดิน
ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
2. ควรจัดระบบเอกสารสิทธิใหม่ โดยให้มีเอกสารสิทธิชนิดเดียวคือโฉนดที่ดิน เพื่อมิให้เกิดความ
ลักลั่นในสิทธิที่ประชาชนจะได้รับและทําให้การบริหารจัดการด้านเอกสารสิทธิและทะเบียนที่ดินเป็นไป
ในระบบเดียวกันทั่วประเทศทั้งนี้ควรดําเนินการหลังการจําแนกประเภทที่ดินแล้ว
3. เร่งรัดการจัดระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาวะการกระจุกตัวในทุกจังหวัดของประเทศ
เพื่อที่จะนํามาใช้ประกอบการกําหนดมาตรการควบคุมมิให้การกระจุกตัวของการถือครองเป็นพื้นฐาน
ั
ของปญหาของการใช้ที่ดินที่ขาดประสิทธิภาพ
4. ควรบูรณาการองค์กรและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดเอกภาพ
้
ในวัตถุประสงค์เปาหมายและวิธีการดําเนินการ
5. ควรจัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินที่โปร่งใสโดยที่สาธารณชนเข้าไปใช้ประโยชน์โดยง่าย
ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานของรัฐชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งล้วนปฏิบัติ
ภารกิจในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบภายใต้กรอบการบริหารการจัดการที่ดินและกติกาเดียวกัน
6. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีบํารุงท้องที่และกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินให้มีฐาน
การประเมินภาษีอย่างเดียวกัน ได้แก่ การประเมินราคาทุนทรัพย์โดยให้เป็นหน้าที่ของสํานักงานกลาง
ประเมินราคาทรัพย์สินตลอดจนเพิ่มอัตราภาษีบํารุงที่แต่ลดอัตราภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ยกเลิกการ
ยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่อาศัย) โดยมีอัตราแตกต่างกันตามลักษณะการ
ใช้ประโยชน์ เช่น เพื่อการเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อการทําธุรกิจหากําไรเพื่อการกสิกรรมเป็นต้นหรือยกเลิก
บทบัญญัติทั้งสองฉบับและตราบทบัญญัติภาษีทรัพย์สินที่ครอบคลุมสาระสําคัญของการจัดเก็บภาษี
โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนที่ดิน เช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยใช้
ฐานภาษีเดียวกัน
7. ควรสร้างและพัฒนาระบบภาษีที่ดินโดยยึดหลักของการเก็บภาษีตามอัตราก้าวหน้าทั้งนี้
ภาษีที่ดินควรจะเก็บจากค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากทรัพย์สินที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพ
เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
8. ทบทวนหลักการวิธีการของมาตรการและกลไกในการบริหารการจัดการที่ดินที่มีอยู่ใน
ั
ปจจุบันอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มศักยภาพของการใช้กลไกดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่จะผลักดันให้การใช้ที่ดิน
เกิดประโยชน์สูงสุด
9. ควรหาทางนําที่ดินที่ถูกทอดทิ้งไม่ใช้ประโยชน์เนื่องจากติดภาระกับธนาคารหรือสถาบัน
การเงินที่กลายเป็น NPL มาใช้ประโยชน์โดยมิให้กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่เพื่อให้ที่ดินได้ใช้ประโยชน์
ตามความเหมาะสมของที่ดินแต่ละแปลงโดยอาจเป็นการออกกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้นําที่ดิน
ออกให้เช่าใช้ประโยชน์ชั่วคราวและส่งรายได้ที่หักค่าบริหารแล้วให้กับเจ้าของที่ดินหรือเจ้าหนี้ เป็นต้น
3‐25