Page 53 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 53
ั
แก้ไขปญหาการกระจุกตัวของที่ดิน และการกว้านซื้อเพื่อเก็งกําไรที่ดินเพื่อให้มีการกระจายที่ดิน
ที่ปฏิบัติได้ และสร้างความเป็นธรรมในสังคมถึงแม้จะมีกฎหมายปฏิรูปที่ดินก็ไม่ได้เน้นดําเนินการ
ปรับปรุงสิทธิและการถือครองในที่ดินที่เอกชนถือครอง
ค) กฎหมายว่าด้วยผังเมืองยังไม่สามารถใช้บังคับเพื่อกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินทําให้
ั
ั
เกิดการการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมในเขตเมืองซึ่งก่อให้เกิดปญหาติดตามมา เช่น ปญหาการจราจรมลพิษ
ทางอากาศและเสียงนํ้าเสียขยะมูลฝอยเป็นต้น
ั
นอกจากนั้นยังขาดกฎหมายที่จะดูแลปญหาของชุมชนแออัด การจัดรูปที่ดินรวมทั้งมาตรการ
ที่จะลดผลกระทบอันเกิดจากการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ง) กฎหมายพัฒนาที่ดินไม่สามารถกําหนดให้เจ้าของที่ดินใช้ที่ดินให้เหมาะกับสมรรถนะของ
ดินหรือการอนุรักษ์ดินและนํ้าตลอดจนพื้นที่เกษตรกรรมที่ลดลงตามลําดับเนื่องจากไม่มีมาตรการจูงใจ
ที่เหมาะสมในกฎหมายและในทางปฏิบัติการอนุรักษ์ดินและนํ้ามีต้นทุนและอาจไม่สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดินประกอบอาชีพหรือวิธีการทําการเกษตรของเกษตรกร
จ) กฎหมายเศรษฐกิจที่ออกมาในช่วงวิกฤตของประเทศหลังปี พ.ศ. 2540 ไม่มีผลอย่างเด่นชัด
ที่จะทําให้เกิดการขยายตัวของการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวอันจะกระทบถึงการถือครองที่ดิน
ของคนไทยเพราะมีเงื่อนไขกํากับการได้มาและการถือครองอย่างไรก็ตามหากประเมินผลแล้วเห็นว่า
เป็นการเปิดช่องให้คนต่างชาติถือครองที่ดินโดยไม่จําเป็นและประเทศไทยจะไม่ได้ประโยชน์จากการ
กระตุ้นภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศด้วยวิธีนี้หรือภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
ฟื้นตัวแล้วก็อาจพิจารณาแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
ฉ) กฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการจัดเก็บภาษีจากฐานทรัพย์สินและให้อํานาจ
พนักงานเจ้าหน้าที่ในการประเมินค่ารายปีที่เหมาะสมโดยคํานึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่
ทําเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ เป็นการนําวิธีการประเมินราคาทรัพย์สิน
ประเภทคิดจากรายได้ของทรัพย์สิน (Income - Capitalization Approach) มาใช้ขณะที่ภาษีบํารุงท้องที่
กฎหมายกําหนดให้พิจารณาจากราคาปานกลางที่ดินโดยให้นําราคาที่ดิน (เท่านั้น) ในหน่วยงานที่จะ
ทําการตีราคาซึ่งซื้อขายกันโดยสุจริตครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสามรายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีก่อนวัน
ตีราคามาคํานวณถัวเฉลี่ยเป็นราคาปานกลางซึ่งจะเห็นได้ว่าการเก็บภาษีดังกล่าวยังขาดหลักเกณฑ์
ที่แน่นอนเนื่องจากขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ประเมินภาษีจึงเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงภาษีและยังเปิดโอกาส
ให้ผู้ครอบครองที่ดินของรัฐเสียภาษีด้วยซึ่งเป็นการสนับสนุนให้มีการบุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ
ส่วนนโยบายของรัฐถึงแม้ว่าจะมีความชัดเจนระดับหนึ่งแต่ก็มิได้นําเอาไปปฏิบัติหรือเร่งรัดให้มีการ
ปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่น การออกกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตรา
ั
ก้าวหน้า รวมทั้งการจัดตั้งธนาคารที่ดินเป็นต้น ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้ก็จะทําให้แก้ปญหาที่ดิน
อย่างเป็นระบบแต่ก็ไม่อาจดําเนินการได้นอกจากนั้นองค์กรบริหารจัดการที่ดินยังขาดความเป็นเอกภาพ
กระจายอยู่ในกระทรวงและกรม ต่าง ๆ
ั
จากมูลเหตุข้างต้น การแก้ปญหาการกระจุกตัวและการใช้ประโยชน์ที่ดินควรพิจารณา
ดําเนินการตามข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
3‐24