Page 52 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 52
สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการที่ดิน
โดย อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ และคณะ (2547) ที่ปรากฏผลการศึกษาระบุชัดว่า มีความจําเป็นที่จะต้อง
มีองค์กรในระดับชาติเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทั้งระบบด้วยการกําหนดนโยบายให้สอดคล้องกับการพัฒนาการอนุรักษ์การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรดินและที่ดินอย่างสมดุลเป็นธรรมและยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
นอกจากการแก้ไขที่กลไกและการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว งานวิจัย
โครงการศึกษาการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมายเพื่อให้
การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุด โดย วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์และคณะ (2544) ได้ชี้ให้เห็นถึง
ั
ปญหาสําคัญอีกด้านของการจัดการที่ดิน โดยชี้ชัดถึงสัดส่วนของการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์
ั
ั
ที่ไม่สมดุลกันโดยเป็นปญหาจากโครงสร้างกฎหมาย ที่ส่งทําให้เกิดปญหาการกระจายการถือครอง
ั
และการใช้ที่ดินไม่เต็มประสิทธิภาพ และปญหานี้ก็ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีข้อเสนอ
ในการจัดการทรัพยากรที่ดินให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังพบว่า ที่ดินส่วนมากยังมีการใช้ประโยชน์
ไม่เต็มที่ ข้อมูลจากการสํารวจของโครงการนี้ พบว่า ที่ดินประมาณร้อยละ 70 ของประเทศนั้น
ใช้ประโยชน์พอสมควรที่เหลือใช้ประโยชน์ตํ่ากว่าร้อยละ 50 คือมีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่หรือไม่ได้ใช้
ั
ั
ประโยชน์เลยการใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่เต็มที่นี้อาจจะเกิดจากปญหาการเก็งกําไรหรือปญหาการ
บริหารจัดการที่ดินของผู้ถือครองที่ดินเอง การประเมินการสูญเสียจากการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ั
ไม่เต็มที่หากใช้มูลค่าเพิ่มภาคเกษตรเป็นข้อมูลในการประเมินซึ่งถือว่าเป็นการประเมินขั้นตํ่า ปจจุบัน
ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ใช้การเกษตร 132.5 ล้านไร่มูลค่าเพิ่มของการเกษตรปี พ.ศ. 2541 มีประมาณ
619,350 ล้านบาท จากข้อมูลที่มีอยู่สามารถคํานวณได้ว่า การประมาณการขั้นสูงเกี่ยวกับการใช้
ประโยชน์ที่ดินอยู่ที่ระดับร้อยละ 70.5 และหากสามารถทําให้ที่ดินใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85
มูลค่าเพิ่มทางเกษตรจะสูงถึง 746,734.03 ล้านบาท หรือทําให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้อีก 127,384.03 ล้านบาท
ซึ่งสรุปได้ว่าการสูญเสียจากการใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่เต็มที่ประเทศไทยต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจ
โดยการประเมินขั้นตํ่า 127,384.03 ล้านบาทต่อปี
ั
ขณะเดียวกัน โครงสร้างของกฎหมายมีส่วนทําให้เกิดปญหาการกระจายการถือครองและ
การใช้ที่ดินไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจาก
่
ก) การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับปาไม้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ เพราะออกใช้มานานและมีหลายฉบับ
การปรับปรุงกฎหมายที่ผ่านมามิได้ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของเศรษฐกิจและสังคมเท่าที่ควรแต่เน้นไปที่
การเพิ่มโทษกับผู้กระทําความผิด มีการบุกรุกเข้าอยู่อาศัยและทําประโยชน์ในพื้นที่สงวนของรัฐ
เป็นจํานวนมากและเพิ่มขึ้น โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้เนื่องมาจากนโยบายรัฐและการแก้ไขที่มิได้เป็นการ
ั
แก้ปญหาอย่างแท้จริงความลักลั่นในการบังคับใช้กฎหมายและความแตกต่างในสิทธิในที่ดิน
ั
ที่ประชาชนได้รับทําให้เกิดปญหาอื่นติดตามมารวมทั้งการใช้ที่ดินอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
ข) ไม่มีกฎหมายจํากัดการถือครองที่ดินของเอกชน ทําให้ผู้ที่มีฐานะดีสามารถถือครองที่ดินได้
ไม่จํากัดโดยไม่ต้องทําประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ในขณะที่ยังมีเกษตรกรและผู้ไม่มีที่ดินทํากิน
ต้องการที่ดินอีกมากและยังไม่มีมาตรการทางภาษีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมออกบังคับใช้ในการ
3‐23