Page 48 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 48

ที่เกาะเท่านั้น  ซึ่งคงมิใช่ความผิดของผู้ครอบครองที่ดินบนเกาะที่เกิดและอยู่อาศัยบนเกาะของประเทศไทย
                       แต่จําต้องมีกฎหมายบังคับแตกต่างกับผู้ครอบครองที่ดินที่มิใช่ที่เกาะอันทําให้ต้องเสียสิทธิในที่ดินไป
                       ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) เป็นเพียงกฎหมายลําดับรองที่ออกมาโดย
                                ่
                       อํานาจของฝายบริหารเป็นกฎหมายที่ออกโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา  ซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติ
                       ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  อันมาจากตัวแทนของประชาชนที่จะช่วยกลั่นกรองกฎหมาย
                       อีกทั้งเนื้อหาของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537)  ข้อ 14 (3)  มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและ

                       ความเสมอภาคของประชาชน ซึ่งกฎหมายที่มีเนื้อหาลักษณะดังกล่าวจะต้องออกโดยผ่านความเห็นชอบจาก
                       รัฐสภาเท่านั้น ตามนัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 ทั้งยังเป็นการ
                       ขัดต่อหลักความเสมอภาค ตามมาตรา 30 และการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินตามมาตรา 41

                              3. มาตรการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537)  ข้อ 14 (3)  เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมาย
                       ที่ดิน ซึ่งตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รัฐยังให้การรับรองสิทธิของผู้ครอบครองที่ดิน
                       มาก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมิได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ

                       ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน (พ.ศ. 2497)  และเปิดโอกาสให้ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินได้ภายใต้หลักเกณฑ์
                       ที่กฎหมายกําหนด แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 (3) ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตาม
                       มาตรา 6 มาตรา 8 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน (พ.ศ. 2497) และ

                       มาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (พ.ศ. 2497) กลับไม่รับรองสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งครอบครอง
                       ทําประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครองที่ดิน  ทั้งยังเป็นการ
                       จํากัดสิทธิของประชาชนดังกล่าวและเป็นการยกเลิกสิทธิในที่ดินของประชาชนที่พระราชบัญญัติ

                       ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายที่ดินได้รับรองสิทธิไว้และให้โอกาสในการ
                       ออกเอกสารสิทธิตามมาตรา 59  ทวิ  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้กล่าวคือ  กฎกระทรวงฉบับที่ 43
                                                                         ่
                       (พ.ศ. 2537)  ข้อ 14 (3)  ซึ่งเป็นกฎหมายลําดับรองที่ออกโดยฝายบริหารกลับมีเนื้อหาที่ขัดกับเจตนารมณ์
                       ตามมาตรา 59  ทวิ  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่เป็นกฎหมายแม่บทที่ให้อํานาจในการออกกฎกระทรวงไว้
                       เนื่องจากที่ดินบนเกาะไม่สามารถใช้มาตรา 59 ทวิ ในการออกเอกสารสิทธิได้ กฎกระทรวงฉบับที่ 43
                       (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 (3) จึงขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินและขัดต่อหลักนิติรัฐเท่ากับว่ากฎหมายลําดับรอง

                       ยกเลิกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ
                                                                             ั
                              และงานวิจัยเรื่อง การเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ที่มีปญหาการถือครอง โดย นิติรัฐ   ไชยศรี
                                            ั
                       ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ปญหาการออกโฉนดที่ดิน ที่เกิดมาจากการตีความกฎหมายของหน่วยงาน
                       ภาครัฐที่ไม่ตรงกัน  ตลอดจนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสํารวจจําแนกประเภทที่ดินของรัฐและเอกชน
                       ยังไม่ชัดเจน ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกโฉนดที่ดินใช้มานานแล้ว ที่จําเป็นต้อง

                       มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยการศึกษา พบว่า
                                  ั
                              1. ปญหาการเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยหลักฐานใบจอง (น.ส.2)  การยกเลิกบทบัญญัติ
                       ในหมวด 3 การกําหนดสิทธิในที่ดิน มาตรา 34 - 49 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยประกาศของคณะปฏิวัติ
                       ฉบับที่ 49  ลงวันที่ 13 มกราคม  พุทธศักราช 2502  ทําให้มีการถือครองที่ดินจํานวนมากเพื่อแสวงหากําไร

                       โดยคนรํ่ารวยซึ่งมีจํานวนน้อย ขณะที่ประชาชนจํานวนมากยากจนไร้ที่ดินทํากิน หรือมีแต่เป็นจํานวนน้อย


                                                                                                      3‐19
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53