Page 47 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 47
ไม่ว่าจะมีชนชั้นใดจะรํ่ารวยหรือยากจนก็ตาม ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกถิ่นฐานที่อยู่ที่ทํากิน
อย่างเท่าเทียมกัน
ั
และจากการศึกษาวิเคราะห์ปญหาการออกโฉนดที่ดินบนเกาะ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43
(พ.ศ. 2537) สามารถสรุปและมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. มาตรการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 เป็นการจํากัดสิทธิในที่ดินของ
ประชาชน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 กําหนดหลักเกณฑ์ห้ามออกโฉนดที่ดินในเขตที่ดิน
่
ของรัฐประเภทต่าง ๆ เช่น เขตปาสงวน เขตปฏิรูปที่ดินและเขตสงวนหวงห้ามอื่น ๆ เว้นแต่จะเป็น
ผู้ครอบครองที่ดิน โดยมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
ประมวลกฎหมายที่ดินหรือหลักฐานอื่น ๆ ตามกฎหมาย ส่วนผู้ไม่แจ้งการครอบครองแม้จะครอบครอง
ที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ ถึงแม้การสงวนหวงห้ามการเป็น
ที่ดินของรัฐจะมาทีหลังก็ตาม ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ต้องการให้สิทธิแก่
ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินให้สามารถออกโฉนดที่ดินได้ อีกทั้งยังขัดต่อหลัก
ความเป็นธรรม เนื่องจากได้ครอบครองที่ดินมาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐ กฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537)
จึงเป็นมาตรการของรัฐที่มุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะมากเกินไป โดยไม่คํานึงถึงประชาชนที่ต้อง
เสียสิทธิในที่ดินไป อีกทั้งยังขัดกับหลักความได้สัดส่วนตามหลักนิติรัฐ ซึ่งการบัญญัติกฎหมายจํากัด
สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะต้องกระทําเท่าที่จําเป็นและกระทบสิทธิของประชาชนน้อยที่สุด ตามมาตรา 29
แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบกับได้มีคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ที่ อ. 240/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 พิพากษาว่าผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนประมวล
กฎหมายที่ดินโดยไม่มีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดินและครอบครองมาก่อนการเป็นเขตที่ดินของรัฐ
มีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินได้ ซึ่งเห็นได้ว่าศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยโดยหลักความเป็นธรรม เนื่องจากข้อเท็จจริง
้
ผู้ฟองคดีได้มีการครอบครองที่ดินมาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐเป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย
และการกระทําทางปกครองของรัฐโดยศาล
2. มาตรการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ข้อ 14 (3) เป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชน เป็นการจํากัดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนอีกทั้งยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เนื่องจากเนื้อหาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537)
ข้อ 14 (3) เป็นการห้ามโดยเด็ดขาดมิให้ออกโฉนดที่ดินบนเกาะ เว้นแต่จะเป็นผู้ซึ่งมีหลักฐานแจ้งการ
ครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบยํ่า หนังสือรับรองการทําประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า
“ได้ทําประโยชน์แล้ว” หรือเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพหรือที่ดินที่
คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชนหรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์
ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว
ซึ่งข้อห้ามตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะที่ดินบนเกาะเท่านั้น ส่วนที่ดินทั่วไปมิได้อยู่ในข้อห้าม
ตามข้อ 14 (3) ทั้งที่คํานิยามตามมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน คําว่า ที่ดิน ให้หมายความ
รวมถึงที่เกาะด้วย จึงเป็นการจํากัดสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนซึ่งอยู่ในประเทศ
เดียวกันและใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงสภาพของที่ดินที่เป็นเกาะและที่ดินซึ่งมิใช่
3‐18