Page 38 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 38

ั
                       ธนะรัชต์ เพราะการจํากัดการถือครองที่ดินซึ่งเป็นปจจัยการผลิตที่สําคัญในระบบทุนนิยมขัดแย้งกับ
                       หลักการเศรษฐกิจเสรีตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของธนาคารโลกเพื่อพัฒนาประเทศไทยในช่วงเวลานั้น
                       ซึ่งทําให้ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงโดยการอยู่เบื้องหลังในการผลักดันนโยบาย

                       สําคัญ ๆ ของรัฐบาลประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
                              ส่วน พ.ร.บ.  ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518  เป็นผลของการปฏิรูปที่ดินซึ่งเกิดขึ้น
                       จากการเรียกร้องของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ที่มาชุมนุมเรียกร้องที่ดินทํากินต่อรัฐบาลเฉพาะกาลของ

                       นายสัญญาธรรมศักดิ์ในช่วงสถานการณ์ทางการเมืองที่เอื้ออํานวยต่อการเคลื่อนไหวของพลัง
                       ภาคประชาชนในยุคที่ประชาธิปไตยกําลังเบ่งบานในปี พ.ศ. 2517  จนสามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้
                       อย่างเป็นทางการในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.  คึกฤทธิ์  ปราโมช และได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ กฎหมายฉบับนี้

                       ไม่ถูกต่อต้านหรือยกเลิกเหมือนกฎหมายปฏิรูปที่ดินฉบับก่อนหน้านี้เพราะเนื้อหาสาระเป็นการจัดสรร
                       ที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินของรัฐ (มาตรา 26  อนุ 3)  เพื่อให้เกษตรกรทํากินในจํานวนเนื้อที่ดิน
                       ที่ไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อการถือครองที่ดินของกลุ่มทุนแต่เป็นเพียงการผ่อนคลายความตึงเครียด

                       จากการถูกกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยมซึ่งเท่ากับเป็นการปรับตัวของระบบทุนนิยมเพื่อให้สามารถ
                       ขูดรีดต่อเนื่องต่อไปได้เท่านั้นนอกจากนั้นที่ดิน ส.ป.ก. ส่วนใหญ่ยังถูกผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นนักการเมือง
                       รวมทั้งนายทุนสวมสิทธิในการเป็นเกษตรกรเป็นจํานวนมากอีกด้วย

                              เช่นเดียวกับงานวิจัยเรื่องกระบวนการกําหนดนโยบายที่ดินในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2475 - 2500
                                                         ั
                       โดย ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ที่ชี้ให้เห็นถึงปญหาความขัดแย้งระหว่างเอกชนกับประชาชนในการถือครอง
                       กรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน จนทําให้เกิด
                                                                                     ั
                       มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและออกกฎหมายอีกหลายฉบับขึ้นมาเพื่อแก้ไขปญหาดังกล่าว
                              กรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินในท้องที่อําเภอบางบ่อและบางพลีจังหวัดสมุทรปราการถือเป็นกรณี
                       พิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่สําคัญที่สุดในช่วงทศวรรษ 2490  ซึ่งรัฐบาลให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งและมีผลต่อ

                       การกําหนดนโยบายจัดสรรที่ดินของรัฐบาลในช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 2490  โดยกรณีพิพาทนี้เป็นเรื่อง
                       สืบเนื่องมาจากกรณีพิพาทระหว่างห้างหุ้นส่วนสยามกสิกรของนายมังกร สามเสน กับราษฎรในช่วง
                                                                       ั
                       ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงแม้รัฐจะพยายามแก้ปญหาดังกล่าวด้วยการตราพระราชกฤษฎีกา
                       กําหนดการแบ่งที่ดินในอําเภอบางบ่อบางพลีจังหวัดสมุทรปราการและบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา
                       ให้แก่ราษฎร พ.ศ. 2473  โดยตั้งข้าหลวงพิเศษออกไปจัดแบ่งที่ดินที่ดังกล่าวให้แก่ราษฎรผู้สามารถ
                       ทําการเพาะปลูกได้เองแต่ในระหว่างที่ข้าหลวงพิเศษจัดแบ่งที่ดินดําเนินการในท้องที่ที่กําหนดนั้น

                       กรณีพิพาทที่ดินระหว่างราษฎรกับห้างหุ้นส่วนสยามกสิกรก็ยังคงดําเนินอยู่โดยในปี พ.ศ. 2480
                       นายมังกร สามเสน ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสยามกสิกรได้ยื่นคําร้องขอรังวัดเพื่อรับโฉนดที่ดิน การขอ
                                                                                ่
                       รังวัดครั้งนั้นมีราษฎรหลายรายคัดค้านและเรื่องก็ค้างเรื่อยมาเพราะทั้งฝายผู้ขอและผู้คัดค้านไม่เอาใจใส่
                       ทอดทิ้งเรื่องไว้ และเมื่อพิจารณาการจัดแบ่งที่ดินของข้าหลวงพิเศษในที่ดินดังกล่าวกลับปรากฏว่า
                       ข้าหลวงพิเศษยังไม่มีการดําเนินการจัดแบ่งที่ดินจนกระทั่งมีการออกกฎหมายฉบับสุดท้ายที่ยกเลิก
                                                                                                    ้
                                                                               ั
                       ข้าหลวงพิเศษจัดแบ่งที่ดินในปี พ.ศ. 2489 อันทําให้คู่พิพาทต้องแก้ปญหาด้วยการดําเนินการฟองร้อง



                                                                                                       3‐9
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43