Page 37 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 37

ทําให้การถือครองที่ดินเกิดภาวะการกระจุกตัวอยู่ในมือของชนชั้นสูง ที่ดินกลายเป็นสินค้า  (Commodity)
                                                                                          ั
                       ที่มีราคาสูงส่งผลกระทบให้ชาวนาชาวไร่ไร้ที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นปญหานับแต่นั้นมา
                              ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 7 ก็ได้เสนอ

                       เก็บภาษีรายได้และภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนยากจน แต่ไม่ได้รับ
                                                                                             ั
                       ความเห็นชอบจากรัฐสภา และตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปจจุบันได้มีความ
                       พยายามปฏิรูปที่ดินเพื่อปรับเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินที่กระจุกตัวอยู่ให้กระจายสู่กลุ่มคนต่าง ๆ

                       เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอยู่ 3 ระลอก
                              ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ. 2475  นโยบายปฏิรูปที่ดินระลอกแรก (พ.ศ. 2476)  ที่มาจาก
                                          ั
                       ความตั้งใจที่จะแก้ไขปญหาการถือครองที่ดินซึ่งดํารงอยู่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  24
                       มิถุนายน  พ.ศ. 2475  ของคณะราษฎรสายพลเรือนนําโดยนายปรีดี พนมยงค์ ในเค้าโครงเศรษฐกิจ
                       ของนายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวถึง “การประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร” และ “วิธีซึ่งรัฐบาล
                       จะหาที่ดิน แรงงาน เงินทุน”  อันได้แก่ การจัดหาที่ดิน โดยการซื้อ “ที่ดินที่จะใช้ประกอบการทางเศรษฐกิจ

                       เช่น ที่นาหรือไร่ กลับคืนสู่รัฐบาล” มีข้อเสนอให้รัฐบาลใช้พันธบัตรซื้อที่ดินสําหรับการเพาะปลูกทั้งหมด
                       แต่ถูกโจมตีว่า “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ” เป็นโครงการของคอมมูนิสต์ และไม่ได้รับเห็นชอบ
                       ให้เป็นนโยบายของรัฐบาล การที่นโยบายปฏิรูปที่ดินถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากคณะเจ้าและขุนนาง

                       ข้าราชการชั้นสูงรวมทั้งส่วนหนึ่งของคณะราษฎรเพราะนโยบายปฏิรูปที่ดินด้วยการรวมที่ดินส่งผล
                       กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อการถือครองที่ดินของคณะเจ้าและขุนนางข้าราชการชั้นสูงซึ่งเป็นกลุ่ม
                       ที่ถือครองที่ดินเป็นจํานวนมาก

                              ความตั้งใจปฏิรูปที่ดินระลอกที่สองในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2497)  ซึ่งดําเนิน
                       นโยบายทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมแบบชาตินิยมตามแนวคิดของ หลวงวิจิตรวาทการ
                       เพื่อปลดพันธนาการของต่างชาติที่ครอบงําเศรษฐกิจของไทยรวมทั้งความต้องการส่งเสริมการพัฒนา

                       เกษตรกรรมอุตสาหกรรม  เพื่อให้ราษฎรไทยอยู่ดีกินดีขึ้นแต่ชาวนาส่วนใหญ่ไม่มีที่นาของตนเอง
                       ในขณะที่ผู้มีอิทธิพลในสังคมใช้ทั้งเล่ห์เพทุบายการข่มขู่และช่องว่างของกฎหมายฉกฉวยเอาที่ดินจาก
                       ราษฎรไปจนเกิดเป็นกรณีพิพาทจํานวนมากรัฐบาลสามารถตราพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อความเป็นธรรม

                       แก่สังคมและพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลที่ดิน 2497  ซึ่งมีเนื้อหาสาระในการจํากัดการถือครองที่ดิน
                       ทั้งในการประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย
                              แต่หลังจากการรัฐประหารยึดอํานาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลเผด็จการของไทย

                       ได้ไปรับเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามคําแนะนําของธนาคารโลกมาเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐภายใต้
                       บรรยากาศของสงครามเย็น ทําให้โครงสร้างส่วนล่างของไทยผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ

                       โลกอย่างสมบูรณ์ในขณะที่โครงสร้างส่วนบนไม่ได้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ยิ่ง ได้ยกเลิกการจํากัด
                       เพดานการถือครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ส่งผลให้การถือครองที่ดินเกิดสภาวะการกระจุกตัว
                       ในมือคนส่วนน้อย คือพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน 2497  ในส่วนที่เกี่ยวกับการจํากัด
                       การถือครองที่ดิน (มาตรา 34 ถึงมาตรา 49 และมาตรา 94 อนุมาตรา 5 ของประมวลกฎหมายที่ดิน 2497)

                       ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2502 โดยจอมพลสฤษดิ์


                                                                                                       3‐8
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42