Page 33 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 33

่
                       ให้แก่สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปาเศรษฐกิจ (โซน E)  ดังนั้น
                                                                                   ่
                        ่
                                          ่
                       ปาอนุรักษ์ (โซน C) และปาเศรษฐกิจ (โซน E) จึงอยู่ในความรับผิดชอบของกรมปาไม้ประมาณ 103.3 ล้านไร่
                              การใช้ที่ดินโดยปราศจากวางแผนที่ดีอีกทั้งขาดการจัดการเรื่องสิทธิการครอบครองและ
                       ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ชัดเจนทําให้การใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงไปตามแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการ
                       ปล่อยที่ดินทิ้งร้างรอขาย ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน เช่น การชะล้างพังทลายของดินถึง
                                           ั
                       108.87  ล้านไร่ ดินที่มีปญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม 209.84  ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน
                       ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนดินเค็ม ดินกรดและดินค่อนข้างเป็นทราย อยู่ในพื้นที่
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สําหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ คิดเป็นพื้นที่ 35.60 ล้านไร่


                       3.2 สิทธิในที่ดิน

                              ในอดีตยุคโบราณยังไม่มีระบบกรรมสิทธิ์ ที่ดินเป็นสมบัติของส่วนรวม ไม่มีใครหวงห้ามและกัน
                       เป็นของตนได้ การเพาะปลูกในยุคนั้นยังไม่มีการถือสิทธิในที่ดิน เพราะที่ดินมีมากมาย เมื่อที่ดินแห่งหนึ่ง
                       เพาะปลูกไม่ได้ผลดี ก็จะอพยพโยกย้ายไปหาที่ดินแห่งใหม่ นอกจากนั้นมนุษย์ในยุคนี้ยังสามารถทําการ
                                                                                                 ั
                       เพาะปลูกร่วมกันได้ โดยถือว่าที่ดินเป็นส่วนรวมของสังคมผู้ทําการเพาะปลูกเพียงแต่แบ่งปนพืชผลกัน
                       เท่านั้น (หลวงวิจิตรวาทการ, 2523)
                              เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม และมีจํานวนคนเพิ่มมากขึ้น มีความจําเป็นต้องทําการ

                       เพาะปลูกให้ได้ผลดีก็ต้องหาที่ดินที่ดีซึ่งในสมัยนั้นคือที่ดินที่นํ้าขึ้นแล้วนํ้าลดลง ก็เริ่มมีความจําเป็น
                       ในการถือสิทธิในที่ดินเพื่อแบ่งสรรที่ดินกันเพาะปลูก โดยเป็นสิทธิเพียงชั่วคราวมีกําหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี
                       แต่สิทธินี้ก็ยังไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลสิทธิครอบครองยังเป็นของพวกของหมู่หรือเผ่า เพราะการแบ่งที่ดินอย่างนี้

                       ต้องแบ่งเป็นผืนใหญ่ ๆ ไม่สามารถจัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ต่อมาเมื่อมีวิวัฒนาการด้านการ
                       เพาะปลูกมากขึ้น ต้องหักร้างถางพง ต้องขุดร่องดึงนํ้าเข้ามา หรือต้องขุดบ่อ ขุดสระกักเก็บนํ้าไว้
                       งานเหล่านี้ต้องใช้เวลาและแรงงานมาก ทําให้เกิดความหวงกันที่ดินดังกล่าวจะให้คนอื่นมาเอาไปเสียไม่ได้

                       สิทธิในที่ดินอย่างแท้จริงจึงได้กําเนิดขึ้นจากการลงแรง สิทธินี้ยังไม่เป็นสิทธิส่วนตัวบุคคล แต่เป็นของ
                       ครอบครัว หมู่หรือเผ่าซึ่งครอบครัว หมู่หรือเผ่า ยังไม่ยอมให้คนแต่ละคนแบ่งแยกออกไป (หลวงวิจิตร -
                       วาทการ,  อ้างแล้ว)  ต่อมา เมื่อเผ่ารวมกันเป็นประเทศ การปกครองมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้

                       อํานาจของครอบครัวเสื่อมลงไปมาก แต่ละคนมีสิทธิมากขึ้น หลักกรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนจึงก่อตั้งขึ้น
                       (ภาสกร ชุณหอุไร, 2528)  แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินของเอกชนยังมีลักษณะต่างจากกรรมสิทธิ์ใน

                       สังหาริมทรัพย์ เพราะในสมัยนั้นที่ดินมีอยู่มาก แต่คนยังมีน้อย ถ้าใครต้องการที่ดินที่จะเพาะปลูก
                                                     ่
                       หรือปลูกเรือนอยู่ ต้องไปหาที่ดินในปา แล้วถากถางโค่นสร้างที่ดินนั้นจึงจะเป็นของตน แต่ถ้าเจ้าของ
                       อพยพออกจากที่ดินหรือเลิกทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว ที่ดินนั้นจะกลับมาเป็นสมบัติส่วนรวม
                       ผู้อื่นเข้าทําประโยชน์ต่อไปได้ เพราะในสมัยโบราณกรรมสิทธิ์ยังไม่แยกออกจากการครอบครอง

                       เจ้าของต้องเป็นผู้ที่ครอบครองหรือทําประโยชน์ในที่ดินนั้นจึงจะมีสิทธิหวงห้ามในที่ดินนั้นได้ (ร. แลงกาตี,
                       2526)




                                                                                                       3‐4
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38