Page 40 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 40

โดยผิดกฎหมายมาจัดที่ดินให้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินฯ
                       จึงเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าด้วยความสําคัญของการนํานโยบายไปปฏิบัติของสมบัติ
                       ธํารงธัญวงค์ (2549) ที่กล่าวว่า ความสําเร็จหรือล้มเหลวของการนํานโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบ
                                                              ้
                       ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ตัดสินใจนโยบายกลุ่มเปาหมายที่เกี่ยวข้องและต่อหน่วยปฏิบัติเมื่อการนํานโยบาย
                       ไปปฏิบัติล้มเหลวย่อมแปลว่าผู้ตัดสินใจ  ในฐานะผู้นําทางการเมืองที่ควบคุมกํากับดูแลหน่วยปฏิบัติ
                       มีความบกพร่องด้วย  และต้องรับผิดชอบกับความล้มเหลวที่เกิดขึ้น  กล่าวคือหากผู้นํานโยบาย

                       ไปปฏิบัติสามารถจัดที่ดินได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับผลประโยชน์
                       ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญที่การปฏิบัติประสบผลสําเร็จ  สอดคล้องกับตัวแบบวิเคราะห์ทางด้านการจัดการ
                       ที่เชื่อว่า ความสําเร็จของการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติย่อมขึ้นอยู่กับองค์การที่รับผิดชอบ ว่ามีขีดความสามารถ

                       ที่จะปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังเพียงใด โครงการที่จะประสบความสําเร็จได้จึงต้องอาศัย
                       โครงสร้างขององค์การที่เหมาะสม บุคคลากรที่อยู่ในองค์การจะต้องมีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านบริหาร
                       และเทคนิคอย่างเพียงพอ  และต้องมีการวางแผนเตรียมการหรือมีความพร้อมเป็นอย่างดีทั้งด้านวัสดุ

                       อุปกรณ์เครื่องมือและงบประมาณ
                                                                                          ั
                              และสอดคล้องกับการศึกษาของ  วัฒนา  ยั่งยืน (2547)  ที่ทําการวิจัยเรื่องปญหาอุปสรรคในการ
                       นํานโยบายการจัดที่ดินทํากินให้กับประชาชนไปปฏิบัติ  กรณีที่ดินสาธารณะประโยชน์ของบ้านดง

                       หนองอีดอก ตําบลหัวนา อําเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า นโยบายการจัดที่ดินทํากิน
                       ให้กับประชาชนทําให้ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรงสําหรับผู้ที่ไม่มีที่ดินทํากินได้รับการรับรองสิทธิ์
                                                                                                      ั
                       ในการจัดที่ดินทํากิน และสอดคล้องกับการวิจัยของ ศิวพร  ฉั่วสวัสดิ์ (2548) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องปญหา
                                                                                 ั
                       การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินในการออกโฉนดที่ดิน  พบว่า ปญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
                       ของเจ้าหน้าที่นอกจากจะต้องศึกษาทําความเข้าใจ และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบ
                       คําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดินที่มีเป็นจํานวนมากแล้ว  เจ้าหน้าที่กรมที่ดินยังต้องศึกษา

                       ทําความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์  และวิธีการขั้นตอนการปฏิบัติการทางการปกครองตามพระราชบัญญัติ
                       วิธีปฏิบัติข้าราชการปกครอง พ.ศ. 2539 นอกจากความรู้ความเข้าใจและการตีความปรับใช้กฎหมาย
                              ั
                       เป็นอีกปญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทํางานของเจ้าหน้าที่ และจากหลักฐานผลการวิจัย
                               ั
                              ปญหาอุปสรรคและผลกระทบในการจัดที่ดินตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                              ั
                       พบว่า ปญหาอุปสรรคคือการตีความ ความขัดแย้งของ ส.ป.ก. กับข้อกฎหมาย การใช้งบประมาณและ
                                                                     ่
                       เอกสาร  ส.ป.ก. 4 - 01 สอดคล้องกับ งานวิจัยเรื่องปาชุมชน :  เทคโนโลยีอํานาจควบคุมชุมชนใน
                                                                   ั
                           ่
                       เขตปาชิ้นใหม่ ? โดย สุรินทร์  อ้นพรม ที่ชี้ให้เห็นถึงปญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในการ
                                                         ่
                                     ่
                       ใช้ประโยชน์จากปา โดยเฉพาะการจัดการปาโดยรัฐที่รวมศูนย์อํานาจในการบริหารจัดการ ที่มองชาวบ้าน
                       เป็นศัตรูทําลายทรัพยากรธรรมชาติ ทําให้มีการออกกฎหมายหลายฉบับที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
                                                                 ่
                                                                                           ่
                       ในด้านวิถีชีวิต ขณะเดียวกันการบริหารจัดการปาของรัฐก็ไม่สามารถจัดการปาได้อย่างแท้จริง
                                            ่
                       เพราะการลดลงของพื้นที่ปาก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดการเรียกร้องของ
                       ภาคประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ




                                                                                                      3‐11
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45