Page 39 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 39
่
่
ในโรงศาลภายใต้กฎหมายที่ดินธรรมดา ซึ่งภาวะเช่นนี้ฝายราษฎรย่อมเสียเปรียบฝายนายทุนที่มี
้
เงินทุนในการฟองร้อง
จากอุปสงค์ต่อที่ดินเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งผลให้กรณีพิพาทที่ดิน
ในอําเภอบางบ่อและบางพลีเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยในปี พ.ศ. 2491 นายสกล สามเสน
(บุตรนายมังกร สามเสน) ได้ขอรังวัดรับโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งการขอรังวัดครั้งนี้นายสกลมิได้ขอ
ในนามห้างหุ้นส่วนสยามกสิกรแต่แยกออกเป็น 184 แปลง และทางเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้
115 แปลง
จากเหตุการณ์นี้ทําให้ราษฎรที่เคยครอบครองทําประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนต่างกล่าวหาว่า
เจ้าพนักงานร่วมสมคบกับนายทุนเอาที่ดินของราษฎรไปออกโฉนดให้นายทุนราษฎรจึงเริ่มจับอาวุธขึ้นต่อสู้
้
กับนายทุนเพื่อปกปองสิทธิในที่ดินของตนจนท้องที่อําเภอบางบ่อและบางพลีได้กลายเป็นสนามรบ
ระหว่างนายทุนเจ้าที่ดินกับชาวนาไปโดยปริยาย ถึงแม้ทางราชการจะเข้าไปช่วยประนีประนอม
แต่ก็ไม่สามารถยุติข้อพิพาทได้และเมื่อทางราชการได้พิจารณาสาเหตุของข้อพิพาทในหลาย ๆ กรณี
พบว่า เกิดจากการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบธรรมจํานวนมาก ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงมอบหมายให้
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่าง พ.ร.บ. สํารวจการออกโฉนดที่ดินขึ้นมาบังคับใช้ ซึ่งตามกฎหมาย
ฉบับนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสํารวจการออกโฉนดที่ดิน” มีหน้าที่
สํารวจการออกโฉนดที่ดินและถ้าพบว่า การออกโฉนดที่ดินรายใดไม่ได้รับความเป็นธรรม คณะกรรมการนี้
มีอํานาจสั่งยกเลิกโฉนดที่ดินนั้นและสั่งให้ออกโฉนดที่ดินใหม่ตามความเป็นธรรมได้โดยคําสั่งของ
้
คณะกรรมการให้ถือเป็นเด็ดขาดห้ามผู้ใดนําไปฟองร้องต่อศาลเพื่อแก้ไขเป็นอย่างอื่น
ั
และงานวิจัยเรื่อง ปญหาอุปสรรคและผลกระทบในการจัดที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน
่
เพื่อเกษตรกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการปาหนองหญ้าปล้อง ตําบลเขาย้อย ตําบลทับคาง และ
ั
ตําบลหนองปรง อําเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยอนุสรณ์ ร่างเล็ก ที่พบว่า ปญหาผลกระทบการจัดที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินฯ ในการตีความและความขัดแย้งของ ส.ป.ก. กับข้อกฎหมาย
ส่งผลกระทบต่อประชาชนซึ่งครอบครองที่ดินจากกรณีความไม่ชัดเจนของเจ้าหน้าที่ผู้นํานโยบายการ
จัดที่ดินไปปฏิบัติซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนต้องการ การใช้เงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอื่น ๆ
กระทบต่อการนําเงินงบประมาณไปปฏิบัติงานในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นเงินงบประมาณของ
แผ่นดินที่ได้มีการตั้งแผนงานและกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรังวัดแปลงถือครองที่ดิน การสอบสิทธิ์
เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินเพื่อดําเนินการจัดที่ดิน การสนับสนุนเงินด้านสาธารณูปโภค การให้กู้ยืมเงิน
กองทุกเพื่อการปฏิรูปที่ดินฯ หรือกระทั้งการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลในการ
ั
แก้ปญหาความยากจน ผลกระทบจากเอกสาร ส.ป.ก. 4 - 01 กระทบผลประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร
เนื่องจากเป็นเอกสารที่ใช้เพื่ออ้างอิงในการเข้าทําประโยชน์ในพื้นที่จึงเกิดผลกระทบกับองค์กรและ
ขาดความเชื่อมั่นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จากการที่ไม่ชัดเจนในการนํานโยบายไปปฏิบัติไม่ได้รับการพัฒนา
พื้นที่ทั้งระบบในเขตพื้นที่ดังกล่าวโดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นแหล่งนํ้า
ถนน หรือการได้รับการสนับสนุนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ การขยายตัวของชุมชนและอื่น ๆ ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า
่
การจัดที่ดินให้เกษตรกรโดยนําที่ดินของรัฐซึ่งเป็นปาสงวนแห่งชาติและประชาชนบุกรุกเข้าไปทํากิน
3‐10