Page 35 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 35
การออกโฉนดที่ดินต่อมา โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินอีกหลายฉบับ
ฉบับสุดท้าย คือ พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 ซึ่งได้วิวัฒนาการ จนเป็น
ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ใช้บังคับเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
ั
ต่าง ๆ สืบมาจนถึงปจจุบัน
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 1 สิทธิในที่ดินหมายความถึง “กรรมสิทธิ์ และให้หมายความรวมถึง
สิทธิครอบครองด้วย” และมาตรา 2 “ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่า
เป็นของรัฐ และมาตรา 3 บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ที่ดินในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบท
กฎหมาย ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ หรือได้มาซึ่งโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ (2)
ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพหรือกฎหมายอื่น
สําหรับประเภทของที่ดิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ที่ดินของเอกชน และที่ดินของรัฐ โดยที่ดิน
เอกชน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ที่ดินที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ อันได้แก่ โฉนดที่ดิน โฉนดตราจอง
เป็นที่ดินที่ทางราชการออกให้ และ 2) ที่ดินมือเปล่า หมายถึง ที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธ์
แต่อาจมีหลักฐานสําหรับที่ดิน เช่น ใบจอง (น.ส.2) ใบเหยียบยํ่า ตราจอง แบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)
แบบหมายเลข 3 หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3 หรือ น.ส.3ก.) ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวนี้
กฎหมายถือว่า มีสิทธิ์เพียงครอบครองเท่านั้น ส่วนที่ดินของรัฐ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ 1) ที่ดินที่เป็น
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายถึง ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือทอดทิ้ง ที่ดิน
่
สําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางนํ้าทางหลวง ทะเลสาบ ที่ทําเลเลี้ยงสัตว์ ปาช้า
้
สาธารณะ ที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น ปอม โรงทหาร ที่ตั้งสํานักงานทางราชการ
่
และที่ดินสงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินปาสงวนแห่งชาติ ที่ดินอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษา
่
พันธุ์สัตว์ปา เป็นต้น 2) ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา หมายถึง ที่ดินที่รัฐถือสิทธิในที่ดิน
เช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป เช่น ที่ดินราชพัสดุที่กรมธนารักษ์ให้เอกชนเช่า (วนิดา, 2536 อ้างจาก
สุพรรณี ทักษิณสัมพันธ์, 2547)
จากนิยามและคําอธิบายข้างต้นชี้ให้เห็นว่า การกําหนดสิทธิที่ดินเบื้องต้นยังให้ความหมาย
ครอบคลุมถึงสิทธิครอบครองด้วย ดังนั้น ผู้ที่ครอบครองที่ดินอยู่สืบต่อกันมาเป็นรุ่น ๆ แต่ครั้งบรรพบุรุษ
โดยไม่มีผู้อื่นมาครอบครองใช้ประโยชน์ ก็ย่อมจะต้องมีสิทธิในที่ดินผืนนั้น ๆ แต่ในประมวลกฎหมาย
ที่ดินมาตรา 3 ได้ไปจํากัดสิทธิของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยระบุให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ใน 2 กรณี
เท่านั้นคือ ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามบทกฎหมาย ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ หรือได้มาซึ่ง
โฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ และได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน
เพื่อการครองชีพหรือกฎหมายอื่น ซึ่งหมายถึง ได้สิทธิจากรัฐจัดที่ดินให้ใหม่ ประมวลกฎหมายที่ดิน
จึงทําให้ผู้ที่ครอบครองอยู่อาศัยทํากินในที่ดินก่อนหรือหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแต่มิได้แจ้ง
ให้ทางราชการทราบหรือแจ้งแล้วทางราชการไม่ได้ดําเนินการต่อให้หรือไม่ได้โฉนด เช่น ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์
่
ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ห่างไกล ก็จะไม่ได้รับสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยิ่งเมื่อรัฐประกาศเขตปา
่
่
และออกพระราชบัญญัติปาไม้ พุทธศักราช 2484 กําหนดให้ปาคือที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มา
3‐6