Page 34 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 34
กรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย ปรากฏเริ่มแรกตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชกาลของ
พ่อขุนรามคําแหง ซึ่งทรงดําเนินรัฐประศาสโนบายส่งเสริมเศรษฐกิจเกี่ยวกับการทําประโยชน์ในที่ดิน
ั
เพื่อให้ได้พืชผลมาเป็นปจจัยในการบริโภคและอุปโภคพอควรแก่ระดับการครองชีพในสมัยนั้น
เมื่อราษฎรเข้าบุกเบิกหักร้างถางพงในที่ดินจนเพาะปลูกได้ผลได้ประโยชน์แล้วก็โปรดให้ที่ดินนั้น ๆ
่
เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ออกแรงออกทุนไป ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "ฯลฯ สร้างปาหมาก
่
่
่
ปาพลูทั่วเมืองทุกแห่ง ปาพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ปาคาง (ขนุน) ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย
ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ใครสร้างได้ไว้แก่มัน ฯลฯ" ได้จัดแบ่งองค์การบริหารออกเป็น
รูปจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ประจําอยู่ส่วนกลาง การจัดเรื่องที่ดินขึ้นอยู่แก่กรมนา ในแผ่นดิน
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) (พ.ศ. 1903) ตําแหน่งเสนาบดีกรมนามีชื่อเรียกว่า "ขุนเกษตราธิบดี"
ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991) หรือที่เรียกว่า "พระเกษตราธิบดี" ในแผ่นดิน
พระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2175) เรียกว่า "เจ้าพระยาพลเทพเสนาบดีศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี
อภัยพิริยะปรากรมพาหุ" นามเจ้าพระยาพลเทพนี้ใช้อยู่จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้มีกฎหมาย
ลักษณะเบ็ดเสร็จซึ่งตราขึ้นใช้บังคับตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) บทที่ 35,
42 และ 43 เป็นแม่บทสําหรับดําเนินการ โดยกําหนดให้มีการจัดที่ดินซึ่งยังรกร้างเป็นทําเลเปล่า
ให้ราษฎร เข้าก่นสร้างให้มีประโยชน์ขึ้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 - 2 งานที่ดินยังคงยึดหลักการ
ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ สมัยรัชกาลที่ 3 มีการออกหนังสือสําหรับที่บ้าน เพื่อระงับข้อพิพาท
การรุกลํ้าเขตกัน สมัยรัชกาลที่ 4 มีการประกาศขายฝากและจํานําที่สวน ที่นา และมีการออกตราแดง
ในเขตจังหวัดกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยาอ่างทอง ลพบุรีสุพรรณบุรี) เป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้มีชื่อ
เป็นเจ้าของและใช้ในการเก็บภาษีที่นา
การออกหนังสือสําคัญชนิด ต่าง ๆ มีเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่น โฉนดสวน
ั
ใบตราจอง เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษีค่านา ต่อมา มีปญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินสู่ศาลบ่อยขึ้น
เพราะหนังสือสําคัญที่เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากรออกให้เจ้าของที่ดินยึดถือไว้นั้นไม่อาจระงับข้อพิพาท
โต้แย้งได้ เนื่องจากมีข้อความไม่กระจ่างว่าผู้ใดมีสิทธิอยู่ในที่ดินเพียงใดอย่างใด พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสบถึงความเดือดร้อนของราษฎรในกรณีดังกล่าว จึงได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวง เกษตรพาณิชยการจัดดําเนินงานเรื่องสิทธิในที่ดินให้รัดกุมขึ้น โดยมีดําเนินการ
ออกโฉนดที่ดิน โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
การออกเดินสํารวจเป็นครั้งแรกในปี ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) โดยข้าหลวงเกษตรพร้อมด้วย
เจ้าพนักงานกรมแผนที่ และมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่ถือโฉนดที่ดิน เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีการ
ั
ออกโฉนดตราจอง เป็นหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินที่ได้ทําประโยชน์แล้ว ปจจุบันยังคงมีอยู่ในเขต
มณฑลพิษณุโลก คือ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ และสุโขทัย และจัดตั้งหอทะเบียนที่ดินแห่งแรก
คือ หอทะเบียนมณฑลกรุงเก่าในพระราชวังบางปะอิน เมื่อ ร.ศ. 120 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2444 หลังจากนั้น
ั
ได้มีการสถาปนากรมทะเบียนที่ดิน หรือกรมที่ดินปจจุบันขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ 17 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2444 และมีการออกพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451) ซึ่งได้รวบรวมการ
ดําเนินการเรื่องที่ดินแต่ดั้งเดิมหลายฉบับไว้เป็นฉบับเดียว และถือเป็นมูลฐานของกฎหมายเกี่ยวกับ
3‐5