Page 36 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 36
่
ตามกฎหมายที่ดิน ก็ทําให้ราษฎรในชนบทห่างไกลหรือชุมชนที่อยู่กับปา กลายเป็นผู้ไร้สิทธิในที่ดิน
่
และถูกกล่าวหาเป็นผู้บุกรุกปาทั้ง ๆ ที่เขาอยู่อาศัยทํากินอยู่ที่เดิมของเขามาแต่บรรพบุรุษ ยิ่งกว่านั้น
่
่
่
ยังมีที่ดินซึ่งชุมชนใช้สอยร่วมกัน เช่น ที่ไร่หมุนเวียน ที่ปาใช้สอย ที่สาธารณประโยชน์ ปาบุ่งปาทาม พรุ
หนองนํ้า ก็ตกเป็นของรัฐตามกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานของรัฐใช้อํานาจตามกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล
อํานาจรัฐในการบริหารจัดการที่ดินจึงซ้อนทับอํานาจของราษฎรและชุมชนที่มีสิทธิตามธรรมชาติในที่ดิน
และทรัพยากรที่เขาสืบทอดกันมาช้านาน เมื่อราษฎรยืนยันสิทธิและใช้ที่ดินทํากินตามจารีตประเพณี
ของเขา จึงเกิดข้อพิพาทขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐและเมื่อหน่วยงานของรัฐบังคับใช้กฎหมายเหนือกฎเกณฑ์
่
ตามจารีตประเพณี จึงเกิดข้อพิพาทขัดแย้งและนําไปสู่การละเมิดสิทธิในที่ดินและปาของราษฎร
3.3 งานวิจัยที่ดิน
่
ที่ดินและปาไม้ที่สมบูรณ์เป็นทรัพยากรพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพ
ตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ตลอดจนความมั่นคงทางอาหารและสภาวะแวดล้อมของสังคม โดยรวม
ประเทศไทยยังมีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์พอเพียงเมื่อเทียบกับจํานวนประชากร 65 ล้านคน เกษตรกร
ควรจะมีที่ดินเฉลี่ยคนละ 22 ไร่ตามข้อมูลของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร แต่ความเป็นจริง
ั
กลับไม่เป็นเช่นนั้นราษฎรชาวไทยต้องเผชิญกับปญหาการขาดแคลนที่ดินในการผลิตมาโดยตลอด
นโยบายรัฐยังคงมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจเปิดช่องให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อขายครอบครองที่ดินได้โดยเสรี
ทําให้เกิดการแก่งแย่งที่ดินและทรัพยากรที่ทวีความรุนแรงและเข้มข้นมากยิ่งขึ้นแทบทุกรูปแบบ
ั
ดังปรากฏในรายงานสถานการณ์ปญหาที่ดินในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยที่ดินในช่วงแรกอธิบายการปฏิรูปที่ดินรัฐ เช่น งานวิจัยเรื่องวิวัฒนาการของการ
ปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2518)
ั
โดย วีรวัฒน์ อริยะ, วิริยานันท์ พุทธกาลรัชธร และแล ดิลกวิทยรัตน์ ชี้ให้เห็นว่า ปญหาความขัดแย้ง
ในการใช้ประโยชน์ฐานทรัพยากรธรรมชาติในสังคมไทยเกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ยุคศักดินา
ครั้งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรรมสิทธิ์ที่ดินถูกแยกเป็นสองส่วน
พระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าของที่ดิน (Ownership) ราษฎรได้สิทธิในการใช้ประโยชน์ทํากินแลกกับการส่งส่วย
และเกณฑ์แรงงานผ่านระบบเจ้าขุนมูลนายซึ่งดูแลแทนพระมหากษัตริย์อีกทอดหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจ
ั
ในช่วงนี้เป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ (Subsistence Economy) ที่ดินถูกใช้เป็นปจจัยในการยังชีพ
โครงสร้างส่วนบนและโครงสร้างส่วนล่างสอดคล้องสัมพันธ์กัน จนถึงภายหลังการเซ็นต์สนธิสัญญาเบาวริ่ง
ในปี พ.ศ. 2398 ทําให้ฐานทางเศรษฐกิจของไทยเปิดเชื่อมต่อกับระบบเศรษฐกิจโลกเนื่องจาก
แรงกดดันของมหาอํานาจในการเสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดสําหรับระบายสินค้าและทุน
ซึ่งมาพร้อมกับลัทธิการล่าอาณานิคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ปรับปรุง
ระบบบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก พร้อมทั้งปฏิรูปกฎหมายจัดการที่ดิน
จากกฎหมายตราสามดวงไปเป็นระบบทอแรนส์ (โฉนดแผนที่) ที่มีผลเป็นการผนวกกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ทั้งความเป็นเจ้าของและสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่เคยแยกกันเข้าเป็นหนึ่งเดียวที่เรียกว่า กรรมสิทธิ์
เอกชน ซึ่งก่อให้เกิดเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ (Absentee Landlords) และแรงงานเสรีที่หลุดจากที่ดิน
3‐7